ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้งานไอคอนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ

Main Article Content

จันทรวรรณ ศรีสุรรณ
วีรพงษ์ พลนิกรกิจ
หนึ่งหทัย ขอผลกลาง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้งานไอคอนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ กลุ่มตัวอย่างจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) กลุ่มนักออกแบบด้านส่วนต่อประสานกราฟิกกับ
ผู้ใช้จำนวน 2 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดในภาคอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือจำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ค่าทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเอสพีเอสเอส (SPSS for Windows) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที-เทสต์ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Analysis of Variance: ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe Analysis) ซึ่งหากไม่พบความแตกต่างรายคู่จะใช้วิธีแอลเอสดี (Least Significant Difference: LSD) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้งานไอคอนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ โดยภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการสื่อความหมาย 2) ปัจจัยด้าน
การจัดวางตำแหน่ง 3) ปัจจัยด้านรูปแบบของกราฟิก 4) ปัจจัยด้านบุคลิกของกราฟิก และ 5) ปัจจัยด้านลักษณะพิเศษ ในการตอบสนอง และเมื่อพิจารณาจัดลำดับเป็นรายข้อ พบว่าสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีความสำคัญต่อความสามารถในการใช้งานไอคอนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือในระดับมากที่สุด มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ข้อ เรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) ระยะเวลาในการตอบสนองของไอคอน 2) ความง่ายในการจดจำ 3) การสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน และ 4) ความละเอียดและความคมชัด

การเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้งานไอคอนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ จำแนกตามคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ คุณลักษณะของโทรศัพท์มือถือ พฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือและคุณลักษณะด้านจิตวิทยาผลการวิจัยในภาพรวม พบว่า อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ยี่ห้อโทรศัพท์มือถือ ประเภทหน้าจอแสดงผล วัตถุประสงค์ในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทัศนคติที่มีต่อระดับความสำคัญของโทรศัพท์มือถือ และรสนิยมด้านรูปทรงของตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือที่แตกต่างกันมีระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้งานไอคอนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือแตกต่างกัน

Article Details

Section
Research Articles

References

ทองเจือ ทองเขียด. (2542). การออกแบบสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สราวุฒิ ชาลีเครือ. (2544). ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อไอคอนบนเว็บเพจ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกวัฒน์ สุวันทโรจน์. (2543). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้าใจใน icon ของ Web Browser บนอินเทอร์เน็ต. งานวิจัยวิชาออกแบบศิลปกรรมอุตสาหกรรมขั้นสูง ภาควิชาศิลปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อินทิรา พรมพันธ์. (2543). การประเมินการรับรู้ระบบสัญลักษณ์ในท่าอากาศยานนานาชาติ. ใน พรเทพ เลิศเทวศิริ (บรรณาธิการ). Design education 1 (หน้า 103-126). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cauley, L. (2007). Cellphone users complain about function fatigue [On-line]. Available: http://www.usatoday.com/

tech/products/2007-02-13-function-fatigue_x.htm

Churchill, D., and Hedberg, J. (Online, 2008). Learning object design considerations for small-screen handheld

devices. Computer and education. 50: 881-893.

Downton, A. (1992). Engineering the human-computer interface. London: McGraw-Hill.

Goonetilleke, S., Shih, M., Hang, K., and Fritsch, J. (2001). Effects of training and representational characteristics in

icon design. Human Computer Studies. 55: 741-760.

Huang, H., Lai, H-H. (2007). Factors influencing the usability of icons in the LCD touch screen. Displays. 28:

-116.

Huang, S-M., Shieh, K-K., and Chi, C-F. (2002). Factors affecting the design of computer icons. International

Journal of Industrial Ergonomics. 29:211-218.

Lindberg, T., Nasanen, R., and Muller, K. (2006) How age affects the speed of perception of computer icons.

Display. 27: 170 – 177.

Lindholm, C., and Keinonen, T. (2003). Mobile usability: How nokia changed the face of the Mobile Phone. New

York: McGraw-Hill Professional.

Marcus, A. (2002). Usability in the Real World [On-line]. Available: http://www.usabilityprofessionals.org

Nielsen, J. (1994). Usability Engineering. San Diego: Academic press.