ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และศึกษาปัจจัยด้านส่วนบุคคลเศรษฐกิจ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และความน่าเชื่อถือของแหล่งสารที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรที่ผ่านการอบรมการ
ผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรตำบลบ้านพรุ จำนวน 85 คน และตำบลทุ่งตำเสา จำนวน 73 คน รวมทั้งสิ้น 158 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า การยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับมาก และเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากเมื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรพบว่า การมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินกิจกรรมการผลิต การไปทัศนศึกษา มีผลทางด้านบวก ส่วนอายุ ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และความน่าเชื่อถือในตัวเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีผลทางด้านลบกับการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรตำบลบ้านพรุ จำนวน 85 คน และตำบลทุ่งตำเสา จำนวน 73 คน รวมทั้งสิ้น 158 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า การยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับมาก และเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากเมื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรพบว่า การมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินกิจกรรมการผลิต การไปทัศนศึกษา มีผลทางด้านบวก ส่วนอายุ ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และความน่าเชื่อถือในตัวเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีผลทางด้านลบกับการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์
Article Details
Section
Research Articles
References
ชวิศา เหล่าธรรมยิ่งยง หนูคง. (2549). การวิจัยนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ยะลา : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
สถานีพัฒนาที่ดินสงขลา. (2549). คู่มือการดำเนินงานบริหารจัดการโรงปุ๋ยอินทรีย์ งบประมาณบูรณาการ CEO จังหวัดสงขลา ปี 2549. สงขลา. สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ส่วนวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2543). การตลาดปุ๋ยเคมี. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร.
Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York : Harper& Row.