การพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • ดามธรรม จินากูล สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ชาญณรงค์ อินทรประเสริฐ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • วีรพงษ์ พลนิกรกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Keywords:

Community welfare, สวัสดิการชุมชน, Integration, บูรณาการ

Abstract

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับอำเภอสังเคราะห์บทเรียนเพื่อเสนอเชิงนโยบายต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศึกษาในพื้นที่อำเภอพิมาย จำนวน 12 ตำบล 226 หมู่บ้าน

ผลการวิจัยพบว่า แกนนำชุมชนสามารถรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลได้ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการทำสวัสดิการชุมชน กลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนอำเภอพิมายส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ดำเนินการสวัสดิการทางอ้อมผู้ยากลำบากมีความหมายหลากหลายตามคำจำกัดความของหน่วยงาน โดยชุมชนให้ความหมายผู้ยากลำบากที่กว้างครอบคลุมในทุกกลุ่มประชากร กระบวนการเชื่อมโยงกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนให้เป็นเครือข่ายระดับอำเภอสามารถดำเนินการในลักษณะเครือข่ายและการเป็นศูนย์สารสนเทศ รูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับอำเภอคือ 1) การบูรณาการทางความคิดโดยมีเงื่อนไขความสำเร็จคือกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการ และการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นเครื่องมือของการนำไปสู่ระบบคิดร่วมกัน 2) การบูรณาการสิ่ง
ที่มีอยู่จริงโดยมีเงื่อนไขความสำเร็จคือบูรณาการตามบริบทของสถานภาพกลุ่มกองทุน โดยรูปแบบการดำเนินงานลักษณะศูนย์ประสานงานเครือข่ายและสารสนเทศ และ 3) การบูรณาการเชิงระบบโดยมีเงื่อนไขความสำเร็จคือการขับเคลื่อนเชิงโครงสร้างภายใต้ผู้รับผิดชอบหลัก และการมีอำนาจตัดสินใจในระดับอำเภอโดยผ่านกระบวนการของ
ศูนย์ประสานงานองค์กรสวัสดิการชุมชน วิธีที่เหมาะสมของการบูรณาการแต่ละขั้นตอนสามารถดำเนินการใน 3 วิธี คือ 1) การต่อยอด 2) การพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่ และ 3) การสร้างใหม่ เงื่อนไขขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ การบูรณาการต้องบูรณาการทุกระดับคือ 1) ระดับองค์กรชุมชน 2) ระดับองค์กร หน่วยงาน เครือข่ายระดับอำเภอและ
3) ระดับนโยบาย

References

Albert, M. and Hahnel, R. (2007). A Quit Revolution In Welfare Economics. [Online]. Available: http://

www.zmag.org.

Burt, G. (2007). Modeling Conflict: Social choice theory and social welfare theory. The institute of mathematics

and its application. UK.

Goodman, K. (2007). Evaluating community-based welfare initiatives. Welfare Peer Technical Assistance

Network.

Lee D. Parker. (2003). financial management strategy in a community welfare organization: A boardroom

perspective. Financial accountability management. No. 194 November 2003.

Midgley, J. (2003). Assets in context of welfare theory: a develop mentalist interpretation. Washington

University, USA.

Shiffman, R. (1989). Comprehensive and integrative planning for community development. Discussion paper

for the community economic development assessment study conference. June 14, 1989.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2540). นโยบายสังคมและการจัดสวัสดิการสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

_____. (2545). แนวโน้มและทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมไทยในกระแสโลกานุวัตร. เอกสารอัดสำเนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ขันติยา กรรณสูตร และจตุรงค์ บุญยรัตนสุนทร. (2546). การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาส: กลุ่มนอกกำลังแรงงาน. ในโครงการพัฒนาระบบสวัสดิการ สำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร. (2548). ระบบสวัสดิการสังคมไทย กับการมีส่วนร่วมของประชาชน. เอกสารอัดสำเนา จากการนำเสนอในการสัมมนา วันที่ 12 กันยายน 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ

กรุงเทพมหานคร.

ชัยพร พิบูลศิริ และคณะ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดสวัสดิการของชุมชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิตย์.

ชูชัย ศุภวงศ์. (2545). สวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ในมิติของสิทธิมนุษยชน. เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง “มิติการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อแนวโน้มการจัดสวัสดิการสังคม” ในโอกาสครบรอบ 48 ปี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 24 มกราคม 2545.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2544). สวัสดิการโดยภาคชุมชน (1) กลุ่มออมทรัพย์, (2) กลุ่มผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพลส โปรดักส์ จำกัด.

____. (2546). บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพลส โปรดักส์ จำกัด.

ณัฐวุฒิ จินากูล. (2547). องค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับชุมชนเพื่อการลดเลิกสุรา. กรุงเทพฯ: สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

วรวิทย์ เจริญเลิศ และนภาพร อติวานิชยพงษ์. (2545). การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาส: กลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรม. ในโครงการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคม

ไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วิทยากร เชียงกูล. (2546). การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาส: กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมในโครงการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

รพีพรรณ คำหอม. (2545). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทอารยัน มีเดีย จำกัด.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2543). Social safety net. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

สมชัย ฤชุพันธุ์ และ สุรัสวดี หุ่นพยนต์. (2548). รายงานการศึกษาความเหมาะสมของระบบออมเพื่อเพื่อสวัสดิการและการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบโดยผ่านกลไกของชุมชน.

สุรพล ปธานวนิช. (2547). นโยบายสังคม เส้นทางสู่รัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Downloads

Issue

Section

Research Article