การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของค่านิยมและพฤติกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

วรางคนาง ชูแก้ว
วรรณี แกมเกตุ

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับค่านิยมและพฤติกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีภูมิหลังต่างกัน 2) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของค่านิยมและพฤติกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของค่านิยมและพฤติกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1,193 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีความเที่ยงในการวัด ตัวแปรสังเกตได้ ตั้งแต่ .6583 ถึง .8818 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีค่านิยมและพฤติกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย นักเรียนในโรงเรียนที่เป็นทั้งโรงเรียนต้นแบบและนำร่องสูงกว่านักเรียนในโรงเรียนต้นแบบและนักเรียนในโรงเรียนนำร่อง 2) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อค่านิยมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลมีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อพฤติกรรมตามปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และ 3) โมเดลเชิงสาเหตุของค่านิยมและพฤติกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาโดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 80.84, df = 122, p =. 998, GFI = 1, AGFI =0.98, RMR = 0.004)

Article Details

Section
Research Articles

References

จรินทร์ สกุลถาวร. (2542). จิตวิทยาวัยรุ่นกับการศึกษา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2522). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ดวงเดือนและดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2550). หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล: ทฤษฎีและผลการวิจัยเพื่อสร้างดัชนีในแนวจิตพฤติกรรมศาสตร์. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 47, 1 (27-79).

ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2544). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักกิจงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

นวลละออ แสงสุข. (2544). รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

รามคำแหง.

บรรเทา กิตติศักดิ์. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชาจริยธรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. มหาสารคาม: ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2523). รายงานผลการวิจัยค่านิยมและความคาดหวังของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2539). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อส่งเสริมกรุงเทพ.

ผดุง อารยะวิญญู และ ศรียา นิยมธรรม. (2530). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่านิยมไทยของนักเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

วินัย ไมถึง. (2548). ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุบลราชธานี.

ศิวพร สุทธิศันสนีย์. (2548). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจริยธรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชา จันทร์เอม. (2531). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.

สุทธิวรรณ แสงกาศ. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพนักเรียนโรงเรียนในฝัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภัณฑ์ นุชนาถ. (2542). ค่านิยม (Value). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เรณู จันทร์กุย. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Kerlinger, F.N. (1973). Foundations of Behavioral Research. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.

Rokeach,Milton. (1973). The Nature of Human Values. New York: A Division of Macmilan.