ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพ เศรษฐกิจ-สังคมกับสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของผู้เลี้ยงโคเนื้อตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

Authors

  • ชฎารัตน์ บุญจันทร์ สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • ศิริจิต ทุ่งหว้า สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • สุธา วัฒนสิทธิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพ เศรษฐกิจ-สังคมกับสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของผู้เลี้ยงโคเนื้อ  และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยทางกายภาพ เศรษฐกิจ-สังคม สภาพการเลี้ยงโคเนื้อ และความคิดเห็นของผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นเมือง และลูกผสมในตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงโคเนื้อที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 102 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นเมืองจำนวน 64 ราย และกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อลูกผสมจำนวน 38 ราย ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ-สังคมกับสภาพการเลี้ยงโคเนื้อ พบว่า พื้นที่ถือครองทั้งหมดในครัวเรือน พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด รายได้สุทธิรวมในการทำการเกษตร รายได้สุทธิในการเลี้ยงโคเนื้อ และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับสภาพการเลี้ยงโคเนื้ออย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01ส่วนผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยทางกายภาพ เศรษฐกิจ-สังคม สภาพการเลี้ยงโคเนื้อ และความคิดเห็นของผู้เลี้ยงโคเนื้อทั้งสองกลุ่ม พบว่า พื้นที่เช่าเพื่อทำการเกษตรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพื้นที่ถือครองทั้งหมดในครัวเรือน พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด รายได้รวมทั้งหมดในครัวเรือน รายได้สุทธิในการทำการเกษตร รายได้สุทธิในการเลี้ยงโคเนื้อ ระดับการศึกษา การให้อาหาร โรงเรือน การทำแปลงหญ้า การสุขาภิบาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความคิดเห็นด้านความรู้ความเข้าในการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสม ด้านแรงจูงใจในการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม วิธีการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมของผู้เลี้ยงโคเนื้อทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01

Downloads

Issue

Section

Research Article