การยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเงาะ ของเกษตรกร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี

Authors

  • พัชราภรณ์ เพ็ชรทอง ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • จิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์ ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Keywords:

Adoption, Good Agricultural Practices, rambutan

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสม (Good Agricultural Practices : GAP) สำหรับเงาะ  และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล  เศรษฐกิจ  และสังคม กับการยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเงาะของเกษตรกร  อำเภอบ้านนาสาร  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ  เกษตรกรที่มีรายชื่อเข้าร่วมโครงการระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเงาะ  จำนวน 155 ราย  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าสูงสุด-ต่ำสุด  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าไค-สแควส์  ผลการวิจัยพบว่า  เพศ  อายุ  แรงงานในครัวเรือน และพื้นที่ปลูกเงาะ  มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเงาะอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Downloads

Issue

Section

Research Article