ผลกระทบในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อต้นทุนโลจิสติกส์ในประเทศไทย

Main Article Content

พงษ์ชัย จิตตะมัย
วิจัย บุญญานุสิทธิ์

Abstract

ภาพรวมของต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย อันประกอบไปด้วย ต้นทุนการขนส่งสินค้า ต้นทุนการคลังสินค้าและการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และต้นทุนการบริหารจัดการ มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.6 ต่อปี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ต้นทุนโลจิสติกส์มีความเชื่อมโยงกับต้นทุนการดำเนินกิจกรรมและต้นทุนการดำเนินธุรกรรมขององค์กร โดยความผันแปรของต้นทุนโลจิสติกส์เกิดจากการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงของกลไกต่าง ๆ ในระบบโลจิสติกส์ ดังนั้นเพื่อให้เห็นถึงแนวทางในการบริหารจัดการต้นทุนดังกล่าว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ในประเทศไทย  โดยใช้ตัวแบบสถาปัตยกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น คือ การติดต่อสื่อสาร การนำเสนอ การประยุกต์ใช้งาน และฐานข้อมูล  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 4 ระดับชั้น ดังกล่าวสามารถลดต้นทุนโดยรวมขององค์กรได้  ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ และการประสานงานในแต่ละหน่วยงานทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ทำให้เห็นการไหลเวียนของข้อมูลสารสนเทศได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน  หากองค์กรธุรกิจกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ลดลงในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนรวมขององค์กรลดลงเช่นเดียวกัน

Article Details

Section
Research Articles