การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของสตัฟเฟิลบีม ในการประเมินโครงการทางการศึกษา

Main Article Content

กาญจนา วัธนสุนทร

Abstract

CIPP เป็นโมเดลที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในการประเมินโครงการในหมู่นักการศึกษาไทยมาเป็นเวลาหลายปี ที่เป็นดังนี้ เพราะองค์ประกอบในโมเดลครอบคลุมประเด็นสำคัญที่สามารถอธิบายคุณภาพของโครงการได้  ผู้เสนอโมเดลนี้ ระบุไว้ว่า CIPP เป็นโมเดลที่เป็นพลวัตร ใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่มุ่งประเมินในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการ งาน หรือกิจกรรมอื่นใดก็ตาม อย่างไรก็ตามโมเดลนี้ก็ถูกนำไปอ้างในการประเมินโครงการที่เสร็จแล้วมากมาย ทั้งในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท/เอกหรือในงานประเมินทั่วไปทางการศึกษา และในงานของผู้ที่จบ และผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาด้านการประเมินมาโดยตรง บทความนี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดของการประเมินในยุคตั้งแต่ การประเมินอิงวัตถุประสงค์ของไทเล่อร์ จนมาถึงรูปแบบการประเมินแบบ CIPP ของสตัฟเฟิลบีม จากนั้นให้ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ CIPP ในบริบทของการประเมินโครงการทางการศึกษา ความคาดหวังของผู้เขียนคือ ครู อาจารย์ ตลอดจนถึงผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งหลายจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้อย่างถูกต้องในแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม ในการเสนอรูปแบบการประเมินนี้ รวมทั้งได้เรียนรู้ว่า จะสามารถประยุกต์ใช้ CIPP ในโครงการทางการศึกษา เพื่อที่จะใช้ทรัพยากรที่ได้มาจากภาษีของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร

Article Details

Section
Academic Article