ความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

Authors

  • พรทิพย์ ไชยฤกษ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ขวัญกมล ดอนขวา สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Keywords:

Employee Engagement, ความผูกพันต่อองค์กรของ บุคลากร, Innovative Behavior, พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ ของบุคลากร, Synchrotron Light Research Institute (Public Organization), สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

Abstract

การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กร ระดับพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากร และเพื่อศึกษาถึงความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร ที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากบุคลากรสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จำนวน 156 คน นำมาทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน
(Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีระดับความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 โดยมีความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึกด้านพฤติกรรม และด้านการรับรู้ ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 4.21และ 4.19 ตามลำดับ และบุคลากรสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีระดับพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 โดยมีพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านการแสวงหาโอกาสด้านความคิดริเริ่ม ด้านผู้นำทางความคิด และด้านการประยุกต์ใช้ ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 4.12 4.01 และ 3.90 ตามลำดับ สำหรับปัจจัย
ความผูกพันต่อองค์กร ด้านการรับรู้และด้านพฤติกรรม มีผลกระทบต่อปัจจัยพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านการแสวงหาโอกาสด้านความคิดริเริ่ม ด้านผู้นำทางความคิด และด้านการประยุกต์ใช้ โดยความผูกพันต่อองค์กรด้านการรับรู้ของบุคลากรมีผลกระทบต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านการประยุกต์ใช้มากที่สุด (β = 0.527) และมีผลกระทบต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านการแสวงหาโอกาสน้อยที่สุด (β = 0.339) ความผูกพันต่อองค์กรด้านพฤติกรรมของบุคลากร มีผลกระทบต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านการแสวงหาโอกาสมากที่สุด (β = 0.417) และมีผลกระทบต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านการประยุกต์ใช้น้อยที่สุด (β = 0.246) สำหรับความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึกไม่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์โดยรวมและด้านอื่น ๆ ของบุคลากรสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

References

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่าง.

ทวี บุตรสุนทร. (2554). แนะนำองค์กรยุคใหม่เน้นนวัตกรรมเพิ่มบทบาทพนักงานเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ [ออนไลน์]. ได้จาก: http:// www.astv.com

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน). (2555). ข้อมูลเบื้องต้นของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.slri.or.th/th/index.php?option=com_content&view=category&id=

&Itemid

International Survey Research. (2004). Engaged employees drive the bottom line [Online] Available: http://www.isrinsight.com/pdf/solutions/Engagement BrochureFinalUS.pdf

Kleysen R.F., Street, C.T. (2001). Toward a multi-dimensional measure of individual Innovative Behavior. Journal of Intellectual Capital 2.

Meyer, J.P., Allen, N.J.(1990). The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance and normative Commitment to the Organization. Journal of Occupational.Psychology. 63(June). Administrative Science Quarterly.

Terje, S. (2011). Antecedents and effects of engaged frontline employees A study from the hospitality industry. Journal of Managing Service Quality 21(1): 88-107.

Downloads

Published

2014-12-31

Issue

Section

Research Article