แนวทางการส่งเสริมศักยภาพของสื่อท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารสุขภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

หนึ่งหทัย ขอผลกลาง

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ บทบาท ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรค ความต้องการและความคาดหวังพร้อมทั้งแสวงหาแนวทางที่พึงประสงค์ในการใช้สื่อท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เกิดประโยชน์สูงสุด เก็บข้อมูลในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบวิเคราะห์เนื้อหาสื่อท้องถิ่น ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงคลื่นหลัก วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว หนังสือพิมพ์ และเคเบิลทีวี ผลการวิจัย พบว่า สื่อท้องถิ่นมีศักยภาพด้านผู้บริหาร และศักยภาพด้านบริหารจัดการ บทบาทของสื่อท้องถิ่น คือ การแจ้งข้อมูลข่าวสาร การให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านสุขภาพอนามัย ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารสุขภาพ ได้แก่ การขาดความเป็นอิสระในการดำเนินรายการ ขาดงบประมาณในการนำเสนอเนื้อหาด้านสุขภาพอนามัย ความนิยมของประชาชน
ในการเปิดรับลดลง เทคโนโลยีการส่งกระจายเสียงไม่ทันสมัย สื่อมวลชนขาดความรู้และประสบการณ์ ประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมากด้านคุณสมบัติของข้อมูลที่ได้รับจากสื่อท้องถิ่น ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเปิดรับข่าวสารด้านสุขภาพอนามัยจากสื่อท้องถิ่น ด้านคุณภาพของเนื้อหาด้านสุขภาพอนามัยที่ได้รับจากสื่อท้องถิ่น แนวทางที่พึงประสงค์ในการใช้สื่อท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีดังนี้ ด้านการสื่อสารสุขภาพที่พึงประสงค์ ควรปลูกฝังความคิดแก่สื่อท้องถิ่นว่าหน้าที่ในการให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยเป็นหน้าที่หนึ่งของสื่อท้องถิ่นด้านเนื้อหาสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ ได้แก่ ความรู้เรื่องอาหารที่นำไปสู่โรค ความรู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ สาเหตุ อันตราย และผลกระทบ ด้านบทบาทที่พึงประสงค์ของสื่อมวลชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการสื่อสารสุขภาพ ได้แก่ บทบาทในการให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน การรณรงค์เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และควรมีการสร้างเครือข่ายสุขภาพอนามัยภายในท้องถิ่น

Article Details

Section
Research Articles