การจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

กันตภณ แก้วสง่า
นิศาชล จำนงศรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหา จัดเก็บ เผยแพร่และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ดำเนินการวิจัยตามกรอบแนวคิดของการจัดการความรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 4 กระบวนการได้แก่ การค้นหาองค์ความรู้ การจัดเก็บ
องค์ความรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินฐานข้อมูลและเว็บไซต์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการจัดการความรู้ที่ประยุกต์ใช้
สามารถนำมาใช้ในการจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอพิมายได้เป็นอย่างดี ในการค้นหาองค์ความรู้ สามารถจำแนกความรู้ได้เป็น 4 ด้าน คือ (1) แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี (2) ด้านการตลาดการท่องเที่ยว เช่น การวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการทอ่ งเที่ยว เป็นต้น (3) ด้านนักท่องเที่ยวกลุ่มนักท่องเที่ยวหลัก คือ นักเรียน นักศึกษา และวัยทำงาน เหตุผลการมาเที่ยวมากที่สุดคือ เป็นทางผ่านจึงแวะเที่ยว (4) ด้านธุรกิจ การท่องเที่ยว มีจุดแข็ง คือ ราคาเหมาะสม การบริการดี ส่วนจุดอ่อน คือ นักท่องเที่ยว ไม่ค่อยรู้จักธุรกิจที่พักของอำเภอพิมาย แหล่งท่องเที่ยวที่สามารถจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างงสรรค์ได้มี จำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง การจัดเก็บความรู้สามารถแบ่งความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่ 17 หมวดย่อย 57 หมู่ย่อย กำหนดชุดข้อมูลที่จำเป็นที่ใช้ในการอธิบายแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแหล่งได้เป็น 9 องค์ประกอบ โดยกลุ่มตัวอย่างประเมินว่า ทั้งหมวดหมู่ความรู้ ฐานข้อมูล และเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาที่ครอบคลุม ละเอียด ชัดเจน และสามารถช่วยในการวางแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเบื้องต้นได้

Article Details

Section
Research Articles