การทดสอบพฤติกรรมทางฤดูกาล “Day-of-the-Week Effect” ในตลาดหลักทรัพย์

Main Article Content

กัลยานี ภาคอัต

Abstract

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับ Day-of-the-Week Effect ในตลาดหลักทรัพย์ และนำเสนอตัวแบบที่นิยมใช้ในการทดสอบปรากฏการณ์ดังกล่าว รวมทั้งทฤษฎีสำคัญที่งานวิจัยอ้างถึงและการประยุกต์ใช้ตัวแบบในการทดสอบ Day-of-the-Week Effect ในตลาดหลักทรัพย์ไทย การทบทวนครั้งนี้อยู่ในลักษณะของการสังเคราะห์งานวิจัยแล้วนำมาเรียบเรียงเป็นคำอธิบายในหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ผลของการทบทวนงานวิจัยพบว่าวิธีกำลังสองน้อยที่สุด หรือ The Ordinary Least Square (OLS) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการทดสอบ Day-of-the-Week Effect โดยอาจจะใช้วิธี OLS เพียงวิธีเดียว หรืออาจใช้เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบกับวิธีอื่น (ARCH หรือ GARCH) ส่วนทฤษฎีสำคัญที่งานวิจัยอ้างถึงคือ ความมีประสิทธิภาพของตลาด เมื่อนำตัวแบบ OLS มาประยุกต์ใช้ในการทดสอบ Day-of-the-Week Effect ในตลาดหลักทรัพย์ไทย ผลปรากฏว่า มีปรากฏการณ์ของ Day-of-the-Week Effect ในตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วง 1 มกราคม 2557 ถึง 31 มกราคม 2557

Article Details

Section
Academic Article