อิทธิพลของคุณภาพระบบต่อการใช้งาน ความพึงพอใจ และประโยชน์สุทธิที่ได้รับของผู้ใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณภาพระบบต่อการใช้งาน ความพึงพอใจ และประโยชน์สุทธิที่ได้รับของผู้ใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานการท่าเรือแห่ง
ประเทศไทย ที่ใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) จำนวน 500 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า ค่าไค–สแควร์ (χ2) เท่ากับ 816.971 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 755 ไค–สแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df) เท่ากับ 1.082 ค่าความน่าจะเป็น (p–value) เท่ากับ 0.058 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.932 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.902 ค่าดัชนีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.028 โดยผลการวิจัยยังแสดงว่า (1) คุณภาพระบบในมิติด้านความสะดวกในการ
เข้าถึงมีอิทธิพลทางบวกต่อการใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) ของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย (2) คุณภาพระบบในมิติด้านความง่ายในการเรียนรู้มีอิทธิพลทางบวกต่อการใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) ของผู้ใช้งาน (3) คุณภาพระบบในมิติด้านความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (4) คุณภาพระบบในมิติด้านความมีเสถียรภาพมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (5) คุณภาพระบบในมิติด้านความสะดวกในการเข้าถึงมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (6) คุณภาพระบบในมิติด้านเวลาในการตอบสนองมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (7) การใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) มีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (8) การใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) มีอิทธิพลทางบวกต่อประโยชน์สุทธิที่ได้รับของผู้ใช้งาน และ (9) ความพึงพอใจของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีอิทธิพลทางบวกต่อประโยชน์สุทธิที่ได้รับของผู้ใช้งาน
ประเทศไทย ที่ใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) จำนวน 500 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า ค่าไค–สแควร์ (χ2) เท่ากับ 816.971 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 755 ไค–สแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df) เท่ากับ 1.082 ค่าความน่าจะเป็น (p–value) เท่ากับ 0.058 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.932 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.902 ค่าดัชนีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.028 โดยผลการวิจัยยังแสดงว่า (1) คุณภาพระบบในมิติด้านความสะดวกในการ
เข้าถึงมีอิทธิพลทางบวกต่อการใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) ของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย (2) คุณภาพระบบในมิติด้านความง่ายในการเรียนรู้มีอิทธิพลทางบวกต่อการใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) ของผู้ใช้งาน (3) คุณภาพระบบในมิติด้านความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (4) คุณภาพระบบในมิติด้านความมีเสถียรภาพมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (5) คุณภาพระบบในมิติด้านความสะดวกในการเข้าถึงมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (6) คุณภาพระบบในมิติด้านเวลาในการตอบสนองมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (7) การใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) มีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (8) การใช้งานระบบงานให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่าง ๆ (VCMS) มีอิทธิพลทางบวกต่อประโยชน์สุทธิที่ได้รับของผู้ใช้งาน และ (9) ความพึงพอใจของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีอิทธิพลทางบวกต่อประโยชน์สุทธิที่ได้รับของผู้ใช้งาน
Article Details
Section
Research Articles