การศึกษาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของยา ระหว่างโรงพยาบาลปักธงชัย และโรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมา

Main Article Content

พิมพ์พรรณ เปาอินทร์
ขวัญกมล ดอนขวา

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาภาพรวมของห่วงโซ่อุปทานของยาระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาล และโรงพยาบาลเอกชนการกระจายยาในโรงพยาบาลของรัฐบาล และโรงพยาบาลเอกชน และวิเคราะห์ระบบการกระจายยาในโรงพยาบาลรัฐบาล และ
โรงพยาบาลเอกชน โดยใช้การสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลจากผู้รับผิดชอบด้านยาของโรงพยาบาลรัฐบาลคือโรงพยาบาลปักธงชัยและโรงพยาบาลเอกชน คือโรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมา และคนไข้ในแผนกผู้ป่วยนอกที่รอรับยา อีกทั้งได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลระยะเวลาของโรงพยาบาล และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ระบบการกระจายยาผลการศึกษาพบว่าในระบบการจัดซื้อของทั้งโรงพยาบาลปักธงชัยและโรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมา ต้องผ่านคณะกรรมการตรวจสอบก่อน จึงจะนำยาเข้ามาใช้ในโรงพยาบาลได้ ในการจัดการคลังยา โรงพยาบาลปักธงชัยจะมีการจัดเรียงยาโดยใช้ตัวอักษรในขณะที่โรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมาจะจัดเรียงโดยใช้หมวดหมู่ ด้านการกระจายยา โรงพยาบาลปักธงชัยจะรอผู้ป่วยมายื่นบัตรจึงจะเริ่มทำการจัดยา เริม่ จากการตรวจสอบชือ่ ผ้ปู ว่ ย ยา และใบนัด พิมพฉ์ ลากยา ติดฉลากยา และสง่ ไปบรรจุยา และเตรียมจ่ายโดยเภสัชกรผู้จ่ายยาเป็นผู้ตรวจสอบยาเอง ในขณะที่โรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมาจะเริ่มจัดยาตั้งแต่ใบสั่งยาเข้ามาในระบบจากแพทย์โดยตรง ตรวจสอบชื่อผู้ป่วย ยา และใบนัด ทำการพิมพ์ฉลาก และส่งไปขั้นตอนการบรรจุยา โดยจะทำการติดฉลากไปพร้อม ๆ กันหลังจากนั้นจะทำการตรวจก่อนที่จะส่งยาไปยังจุดรอจ่ายยา ด้านระยะเวลาที่ใช้ในระบบ พบว่าโรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมาใช้ระยะเวลาในการกระจายยาน้อยกว่าโรงพยาบาลปักธงชัย โดยผู้ป่วยในโรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมามีระยะเวลารอคอยเฉลี่ย 15 นาที โดยจากการสัมภาษณ์ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมายินดีที่จะรอ คือ ไม่เกิน 21 นาที ในขณะที่โรงพยาบาล
ปักธงชัยมีระยะเวลารอคอยเฉลี่ย 34 นาที และผู้ป่วยยินดีที่จะรอไม่เกิน 25 นาที ส่งผลให้โรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมาได้รับระดับความพึงพอใจมากกว่าโรงพยาบาลปักธงชัย โดยโรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมาได้รับระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4 จาก 5 และโรงพยาบาลปักธงชัยได้รับระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 3 คะแนน จาก 5 คะแนน

Article Details

Section
Research Articles