แบบจำลองความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงานของสถาบันการอาชีวศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพล ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (3) เพื่อพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิผลการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างวิจัยครั้งนี้ คือ สถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 115 แห่ง ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา แห่งละ 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 345 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2558 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจานวน 306 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมแบบเปิด ความรู้เชิงลึก และแรงจูงใจภายใน (2) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงานนอกจากนี้ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงาน ยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากสภาพแวดล้อมแบบเปิดความรู้เชิงลึก และแรงจูงใจภายใน และ (3) แบบจำลอง SLV Model สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความกลมกลืนทัง้ 6 ดัชนีที่ผา่ นเกณฑ์การยอมรับ คือคา่ ดชั นีχ2/df = 1.19, CFI = 1.00, GFI = 0.96, AGFI = 0.93, RMSEA = 0.025 และ SRMR = 0.014 SLV Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก และ 18 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ (1) สภาพแวดล้อมแบบเปิด มี 3 องค์ประกอบ คือ การสนับสนุนความคิดใหม่ ๆ ความมีอิสระและความไว้วางใจ ความท้าทาย (2) ความรู้เชิงลึก มี 2 องค์ประกอบ คือ ทักษะและความเชี่ยวชาญ, ประสบการณ์และทักษะ (3) แรงจูงใจภายใน มี 2 องค์ประกอบ คือ ความวิริยะและความทุ่มเท ทิศทางและจุดหมาย(4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มี 3 องค์ประกอบ คือ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ การกำหนดทิศทางของ
องค์กร (5) ประสิทธิภาพ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มี 5 องค์ประกอบ คือ ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์, คุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความสอดคล้องเชิงกลยุทธ์ และ (6) ผลการปฏิบัติงาน มี 3 องค์ประกอบ คือ คุณภาพของงาน, ความสามารถเกี่ยวกับงาน และประสิทธิผลของงาน
องค์กร (5) ประสิทธิภาพ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มี 5 องค์ประกอบ คือ ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์, คุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความสอดคล้องเชิงกลยุทธ์ และ (6) ผลการปฏิบัติงาน มี 3 องค์ประกอบ คือ คุณภาพของงาน, ความสามารถเกี่ยวกับงาน และประสิทธิผลของงาน
Article Details
Section
Research Articles
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.