แนวโน้มความต้องการบัณฑิตด้านการจัดการ

Main Article Content

รัชฎาพร วิสุทธากร
ชนิศา มณีรัตนรุ่งโรจน์
จิตตานันท์ ติกุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาแนวโน้มความต้องการบัณฑิตด้านการจัดการ สภาพการผลิตบัณฑิตด้านการจัดการของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย  และแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรด้านการจัดการของสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ  ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมมีการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีด้านการจัดการเกินความต้องการในเชิงปริมาณ  แต่สถานประกอบการยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนบัณฑิตด้านการจัดการในเชิงคุณภาพ โดยปัจจุบันสาขาวิชาที่เปิดสอนมากที่สุด  3 อันดับแรกของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ได้แก่ การตลาด การจัดการทั่วไป และการเงิน ส่วนในต่างประเทศ คือ การบัญชี การจัดการธุรกิจ และการเงิน ผลการศึกษาแนวโน้มความต้องการบัณฑิตด้านการจัดการในอนาคตจากสถานประกอบการ พบว่าสาขาวิชาที่ต้องการ 3 อันดับแรก คือ สาขาบัญชี  การตลาด  การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาใหม่ ๆ

ที่มีการแนะนำ  คือ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเฉพาะทาง  การจัดการลอจิสติกส์  และการจัดการผู้ประกอบการ  ส่วนคุณลักษณะและขีดความสามารถของบัณฑิตด้านการจัดการที่ต้องการมากที่สุด ด้านความรู้/ทักษะ/ความสามารถ คือ ทักษะภาษาอังกฤษ  ทักษะด้านความคิด และความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ ส่วนด้านอุปนิสัย/พฤติกรรม/บุคลิกภาพที่ต้องการ คือ การมีทัศนคติที่ดีและความสามารถในการปรับตัว ความขยันอดทน และความเป็นผู้นำ ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวล้วนเป็นจุดอ่อนหลักของบัณฑิตด้านการจัดการในปัจจุบัน สำหรับแนวโน้มหลักสูตรที่เปิดใหม่ทั้งในและต่างประเทศจะเน้นภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เน้นการจัดการธุรกิจเฉพาะทาง เน้นทักษะและประสบการณ์จริง เป็นหลักสูตรที่บูรณาการหลากหลายสาขาวิชาและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน   

Article Details

Section
Research Articles