ดุลภาพเชิงพินิจพิเคราะห์ในจริยศาสตร์
Main Article Content
Abstract
วิธีการดุลยภาพเชิงพินิจพิเคราะห์ในจริยศาสตร์ในฐานะวิธีการให้เหตุผลสนับสนุนการพิจารณาทฤษฎี หลักการและการตัดสินทางศีลธรรมในรูปแบบสหนัยนิยมที่เริ่มต้นจากรอลส์นั้น มีข้อโจมตีอย่างหนักจากนักจริยศาสตร์ฝ่ายปรัชญาวิเคราะห์ต่อประเด็นของรูปแบบสหนัยนิยมเองว่าไม่อาจเป็นรูปแบบการให้เหตุผลสนับสนุนที่สมเหตุสมผลได้ และพบว่าฝ่ายที่ตีความจากจริยศาสตร์วาทกรรมก็โต้แย้งว่าวิธีการดังกล่าวมีปัญหาในการอธิบายการควบคุมตนเองในระดับส่วนตัว/สาธารณะ ทว่าผู้วิจัยพบว่าทั้งหมดไม่ใช่ข้อโต้แย้งที่ฟังขึ้น เพราะเข้าใจผิดต่อฐานคิดของดุลยภาพเชิงพินิจพิเคราะห์ที่ ‘ไม่เน้นมโนทัศน์แบบแข็งของทฤษฎี’ และพบว่าทฤษฎีพื้นหลังในดุลยภาพเชิงพินิจพิเคราะห์แบบกว้างนั้น สามารถปรับเปลี่ยนที่ตัวทฤษฎีว่าด้วยบุคคลได้โดยไม่เกิดความขัดแย้ง
Article Details
Section
Academic Article