รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (2) เพื่อศึกษาระดับและความต้องการสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุในสภาพปัจจุบัน (3) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นการศึกษาสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตอนที่ 2 เป็นการศึกษาระดับและความต้องการสมรรถนะของผู้ดูแล ผู้สูงอายุในสภาพปัจจุบัน และศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุโดยใช้แบบสอบถาม และขั้นตอนที่ 3 เป็นการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 6 คน เพื่อทำการตรวจ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุผลการศึกษา พบว่า
1) รูปแบบสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย สมรรถนะ 3 ประการ คือ องค์ประกอบ 1. สมรรถนะหลักของผู้ดูแล ได้แก่ 1.1 จิตบริการ 1.2 ยึดมั่นในจริยธรรมคุณธรรม 1.3 ความรู้ทางวิชาการและสุขภาพ 1.4 ความมุ่งสัมฤทธิ์ของงานด้วยความเที่ยงธรรม 1.5 การติดต่อสื่อสาร 1.6 การทำงานเป็นทีม 1.7 ความคิดสร้างสรรค์ องค์ประกอบที่ 2 คือ สมรรถนะหน้าที่ ได้แก่ 2.1 ทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ 2.2 การควบคุมอารมณ์ และบุคลิกภาพ 2.3 การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย 2.4 ความสามารถในการบำรุงเครื่องมือต่างๆ 2.5 ความรับผิดชอบในงาน 2.6 ความสามารถในการจัดการกับเลือดหรือสิ่งคัดหลั่ง และองค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะการจัดการ ได้แก่ 3.1 การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ 3.2 ภาวะผู้นำ 3.3 ความสามารถในการจัดการ
2) สมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก
3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะได้จากการนำผลที่ได้จากการประเมินช่องว่างของระดับความสามารถมาจัดทำแผนพัฒนาพนักงานเป็นรายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) เพื่อลด “ช่องว่าง” ลง จัดทำแผนฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความหมายของสมรรถนะ โดยมีหัวข้อที่ต้องพัฒนา ดังต่อไปนี้ 1. สมรรถนะหน้าที่ คือ 1.1 เทคนิควิธีในการจัดการกับเลือดหรือสิ่งคัดหลั่ง 1.2 เทคนิคในการบำรุงรักษาเครื่องมือทางการแพทย์ 1.3 ภารกิจและความรับผิดชอบในงานการดูแลผู้สูงอายุ 1.4 การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่ผู้สูงวัย 1.5 การควบคุมอารมณ์และการพัฒนาบุคลิกภาพแก่อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตามลำดับ 2. สมรรถนะการจัดการ คือ 2.1 เทคนิควิธีการมีภาวะผู้นำและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในเหตุการณ์ฉุกเฉิน และ 2.2 เทคนิคการบริหารจัดการในงานด้านการดูแลผู้สูงอายุ ตามลำดับ 3 สมรรถนะหลัก คือ 3.1 การสร้างทีมงานและการคิดสร้างสรรค์ในงานด้านการดูแลผู้สูงอายุ 3.2 ความรู้ทางด้านวิชาการด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 3.3 เทคนิคการทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานด้วยความเที่ยงธรรม และ 3.4 เทคนิคการสื่อสารในการดูแลผู้สูงอายุ ตามลำดับ
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
กรมอนามัย. 2556. คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. 2550. Competency เพื่อการประเมินผลงานประจำปี. กรุงเทพมหานคร: เอชอาร์ เซ็นเตอร์.
ปริญญา แร่ทอง. 2547. “ประสบการณ์การอยู่ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุครอบครัวผู้สูงอายุ และผู้ดูแลที่ได้รับการว่าจ้างในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. 2549. การค้นหาและวิเคราะห์เจาะลึก Competency ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เอชอาร์เซ็นเตอร์.
ปิยาภรณ์ จันทร์โพธิ์. 2547. “สัมพันธภาพในการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วิทยาลัย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. 2548. การจัดการทางการพยาบาลสู่การเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.2555. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับพลิชชิง.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์ และเตือนใจ ภักดีพรหม. 2549. การวิจัยระบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นทางการของไทย, เครือข่ายวิจัยสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์, ประนอม รอดคำดี และเตือนใจ ภักดีพรหม. 2550. การวิจัยการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพผู้ช่วยผู้ดูแลผู้สูงอายุ เครือข่ายวิจัยสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์. 2556.สถานการณ์ประชากรสูงอายุไทยปี 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2551. ผู้สูงอายุไทย2550 มุมมอง/ เสียงสะท้อนจากข้อมูลสถิติ. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. 2550. Competency-Based HRM. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สุวิมล ว่องวาณิช. 2548. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Campbell, R. 1984. “Nursing Homes and Long-term Care.” Japan Pacific Affairs, 57, 1: 78-89.
Chanpradit, A. 2003. “Need of Care and Customer Satisfaction from Eldercare Workers in Metropolitan Bangkok.” Master’s Thesis, Adult Nursing, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. 1970. “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement, 30: 607-610.
Lassey, W. R. and Lassey, M. L. 2001. Japan: Challenges of Aging and Culture Change in Quality of Life for Older People: An International Perspective. New Jersey: Prentice Hall.
United Nations. 2011. The Age and Sex of Migrants. New York: Department of Economic and Social Affairs Population Division.
Yap et al. 2003. “Who are the Residents of a Nursing Home in Singapore.” Singapore Medical Journal, 44, 2: 65-73.