ผลกระทบของการจัดทำงบการเงินระหว่างช่วงระยะเวลาก่อนและหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อสาธารณชนที่มีต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการจัดทำงบการเงินระหว่างช่วงระยะเวลาก่อนและหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อสาธารณชนที่มีต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้แบบจำลอง Modified Jones Model และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของหลักทรัพย์ที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อสาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทที่เสนอขายหลักครั้งแรกต่อสาธารณชนในช่วงปี 2550-2555 จำนวนทั้งหมด 100 บริษัท ที่มีงบการเงินในช่วงปี 2547 - 2557 โดยศึกษาจากงบการเงินช่วงก่อนและหลังเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อสาธารณชน 3 ปี โดยใช้สถิติแบบจับคู่ในการวิเคราะห์ผลกระทบของช่วงระยะเวลาก่อนและหลังเสนอขายหลักทรัพย์ และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้าง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ในช่วงระยะเวลาก่อนปีที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อสาธารณชน มีการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของหลักทรัพย์ และพบว่าระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ และธุรกิจประเภทบริการ เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบกับการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างผ่านรายการพึงรับพึงจ่ายโดยดุลยพินิจของฝ่ายบริหารอย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา.2555. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิวา ขาวสอาด.2555. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการจัดการกำไร : กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 9 (2) : 29-34.
พิมพ์ชนก ตันต๊ะนา.2554. “การจัดการกำไรผ่านรายการพึงรับพึงจ่ายของบริษัทที่เสนอขายหุ้นใหม่แก่สาธารณชนเป็นครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปาริชาติ มณีมัยและศันสนีย์ ศรีวรเดชไพศาล.2552.การจัดการกำไรของธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29 (4) : 1-21.
พรรณนิภา ครุวรรณพัฒน์.2548. “ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายการคงค้างกับกำไรและผลตอบแทนของหุ้นในอนาคต.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์. 2543. คุณรู้จัก Creative accounting และคุณภาพกำไรแล้วหรือยัง?. กรุงเทพฯ : ไอโอนิคอินเตอร์เทรดรีซอสเซส.
Aharony, J. and Chan-Jane/Loeb, M. 1993. Initial Public Offerings, Accounting Choices, and Earning Management. Contemporary Accounting Research, 10 : 61-81.
Bartov, E. 1996. How naive is the stock markets use of earnings information. Journal of Accounting and Economics, 21 : 319-337.
Dechow, P, Sloan, R., and Sweeney, A.1995.Detecting Earnings Management. The Accounting Review, 70: 193-225.
Jone, J.1991.Earnings Management During Import Relief Investigations. Journal of Accounting Research, 29: 193-228.
Healy, P.M., and Wahlen, J.M. 1999. A Review of Earnings Management Literlature and its implication for standard setting. Accounting Horizons, 13(14) : 365-385.
DuCharme,L.L.,Malatesta,P.H., and Sefcik,S.E. 2000. Earning Management : IPO Valuation and Subsequent Performance. Journal of Accounting, Auditing & Finance, 16 (4) : 369-396.
Shen, Z. Coakley, J. and Instefjord,N. 2014. Earnings management and IPO anomalies in China. Review of Quantitative Finance and Accounting, 42 (1): 69.