ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจสภาพความต้องการศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจ และอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่คัดสรรและสร้างสมการจำแนก กลุ่มความต้องการศึกษาต่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติการสอนทางธุรกิจศึกษาและอาชีวศึกษา หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เขตกรุงเทพ และปริมณฑล จำนวน 618 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน สถิติไค-สแควร์ (Chi-square) และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ (Multiple Discriminant Analysis) ด้วยโปรแกรม SPSS for windows
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาไม่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.8 รองลงมา คือต้องการศึกษาต่อในอนาคต (ระหว่าง 1-5 ปี) คิดเป็นร้อยละ 24.6 และ ต้องการศึกษาต่อทันทีน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.6
2. ปัจจัยที่คัดสรรในการจำแนกกลุ่มความต้องการศึกษาต่อของครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาพบว่าฟังก์ชั่นที่ 1 จำแนกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทันที และ กลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต และ (2) กลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ ตัวแปรที่สำคัญในการจำแนกกลุ่มได้ดีที่สุดคือ คณะที่สำเร็จการศึกษา ความคล้อยตามบุคคลที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานต้นสังกัดสนับสนุนให้ศึกษาต่อ ส่วนฟังก์ชั่นที่ 2 จำแนกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทันที และ (2) กลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต และกลุ่มครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ ตัวแปรที่สำคัญในการจำแนกกลุ่มได้ดีที่สุด คือ อายุ ความสะดวกในการเดินทางจากที่อยู่อาศัยถึงคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความคาดหวังในการประกอบอาชีพ และ ความรับผิดชอบสอนในวิชาธุรกิจศึกษาและอาชีวศึกษา โดยฟังก์ชั่นสามารถจำแนกกลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทันที กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต และ กลุ่มที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ โดยรวมได้ถูกต้องร้อยละ 55.50
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2546. การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุสุมา สารดี. 2551. “ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อต่างประเทศ: การวิเคราะห์จำแนก”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2549. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี
“ธุรกิจศึกษาคืออะไร.” 2554. Business Ways. ฉบับที่ 7: 24-26.
นพคุณ ศิริวรรณ, ดนัย ดิษยบุตร, สมจิตต์ กล่ำกลิ่น และ วันทนี โชติสกุล. 2539. “ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาและการฝึกอบรมเพิ่มเติมของอาจารย์เกษตร ในหน่วยงานหรือสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ”. รายงานการวิจัย ภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา รัตนา ชอนตะวัน และ ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์. 2551. “ความต้องการของพยาบาลในการศึกษาต่อในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.” พยาบาลสาร. ปีที่ 35. ฉบับที่ 2. เมษายน - มิถุนายน 2551.
ผานิต วิมลรัตน์ปัญญา. 2539. “การวิเคราะห์ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา ภาคนอกเวลาราชการ ของครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พฤฒิภา เอี่ยมสุภาษิต. 2545. “ความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนอาชีวศึกษา ในสถาบันสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระเบียบ อรชร. 2537. “มูลเหตุจูงใจให้นักเรียนตัดสินใจศึกษาต่อวิชาชีพคหกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์. 2555. “สมรรถนะ ปัญหาและคุณลักษณะพึงประสงค์ของครูธุรกิจศึกษาในศตวรรษที่ 21”. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศราวรณ์ ศิรพันธุ์. 2544. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศของบัณฑิตด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพฯ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2546. “เทคนิคการใช้แบบสอบถามสำหรับการวิจัยทางการศึกษา”. ข่าวสารวิจัยการศึกษา. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1. ตุลาคม-พฤศจิกายน 2546.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. 2550. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง. 2547. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา: การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์ และ จรูญศรี มาดิลกโกวิท. 2542. “รายงานผลการวิจัย การวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาธุรกิจในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร : การวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงปริมาณ.” กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมาลี จุลเจิม. 2540. “การศึกษาความสนใจในอาชีพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของวิทยาลัยพณิชยการสังกัดกรมอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อัสฌา บุญชัยยะ. 2551. “แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.” ปริญญานิพนธ์ วท.ม. ( การจัดการนันทนาการ ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Cochran, W.G. 1977. Sampling Techniques. 3rd ed. USA: John Willy&Sons, Inc.
Hair, J.F., Anderson, R.E., Tatham, R.E., and Black, W.C. 1998. Multivariate Data Analysis. 5th ed. Upper Saddle River NJ: Prentice Hall.