การพัฒนาทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และผลการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบเน้นประสบการณ์ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ 2) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สารบริสุทธิ์ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ด้านการพูดและด้านการเขียน และ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการสร้างความสนใจ 2) ขั้นการสร้างประสบการณ์ร่วมกับการทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) 3) ขั้นการสะท้อนคิด 4) ขั้นการสรุป และ 5) ขั้นการประยุกต์ ประยุกต์ 2) ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่ามีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สารบริสุทธิ์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
Boonna, A. (2022). The development of imaginative and creative story writing by using experiential learning with creative storyline writing technique for grade 6 students. Independent Study of the Master of Education degree. Phitsanulok: Naresuan University. (in Thai)
Buakieow, P. (2022). Using experiential learning approach and mathematical tasks to enhance mathematical connection ability of grade 9 students in similarity. Independent Study of the Master of Education degree. Phitsanulok: Naresuan University. (in Thai)
Chesimet, M. C., Githua, B. N. & Ng’eno, J. K. (2016). Effects of Experiential Learning Approach on Students' Mathematical Creativity among Secondary School Students of Kericho East Sub-County, Kenya. Journal of Education and Practice, 7(23), 51-57.
Haputon, K., Porntrai, S. & Saenna, P. (2023). Difficulties with science communication of high school students and promoting science communication self-efficacy using science communication-oriented learning management. Journal of Education Naresuan University, 25(3), 194-207. (in Thai)
Ministry of Education. (2017). Indicators and Core Learning Content Science Learning Group (Edition Revised in 2017) According to the Basic Education Core Curriculum, B.E. 2008. Bangkok: The Agricultural Co-Operative Federation of Thailand Press, Ltd. (in Thai)
Nuntachompoo, P. (2021). Development problem-based learning for approach for increasing scientific communication and collaboration skills about living things for grade v students. Independent Study of the Master of Education degree. Phitsanulok: Naresuan University. (in Thai)
Ponglunhit, J. (2017). The effects of using experiential learning management on mathematical problem solving skills and connection skills of Mathayomsuksa 3 students. Thesis of the Master of Education degree. Chonburi: Burapha University. (in Thai)
Sinlapachai, N. (2017). A study of learning achievement, science communication skills and teamwork skills on structure and function of angiosperms using 5E learning cycle and cooperative learning jigsaw I technique for eleventh grade students. Thesis of the Master of Education degree. Chonburi: Burapha University. (in Thai)
Tarita, A. (2017). Effect of brain-based learning with predict-observe-explain strategy on science achievement, science process skills, and instructional satisfaction of grade 6 students. Thesis of the Master of Education degree. Songkhla: Prince of Songkla University. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2566). Press conference on PISA 2022 assessment results. [Online]. Retrieved from: https://pisathailand. ipst.ac.th/news-21/
Vorakamin, S. (2022). Development of learning achievement and teamwork competency using activity - based learning management in mathematics for grade 4 students. Thesis of the Master of Education degree. Bangkok: Dhurakij Pundit University. (in Thai)
White, R. T and Gunstone, R. F. (1992). Probing Understanding. London: Falmer Press.
Yaemsawai, C. (2023). The development of physics learning innovation through augmented reality (AR) using Predict-Observe-Explain (POE) method to enhance analytical thinking kills on mechanical energy of grade 10. Thesis of the Master of Education degree. Yala: Yala Rajabhat University. (in Thai)