รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา (2) พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และ (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มโรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 11 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง และ (2) กลุ่มบุคคล ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 55 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 913 คน จากโรงเรียนในกลุ่มที่ 1โดยใช้ตารางสำเร็จของยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ฉบับ ได้แก่ (1) แบบสอบถามสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา (2) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและ (3) แบบสำรวจผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการบริหารงานบุคคล และมีปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา อยู่ในระดับมากคือด้านการบริหารงานงบประมาณ และมีข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรต้องการโปรแกรมที่เป็นระบบ เข้าใจง่าย มีฐานข้อมูลครบถ้วน มีคู่มือการใช้งาน มีระบบการรักษาความปลอดภัยและสามารถสื่อสารกับผู้ใช้ได้ (2) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยใช้โปรแกรม SCHOOL ICT ประกอบด้วย โปรแกรมการบริหารงาน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ด้านการบริหารงานวิชาการ กลุ่มที่ 2 ด้านการบริหารงานงบประมาณกลุ่มที่ 3 ด้านการบริหารงานบุคคล และกลุ่มที่ 4 ด้านการบริหารงานทั่วไป และ (3) ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร พบว่าสถานศึกษามีคะแนนเฉลี่ยผลการประกันคุณภาพภายในโดยภาพรวมคิดเป็น 92.73 คะแนน มีคุณภาพระดับดีเยี่ยม และมีคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมคิดเป็น 89.37 คะแนนมีคุณภาพระดับดี ผู้บริหาร ครูและบุคลากรมีความพึงพอใจต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความถูกต้องครอบคลุม ความมีประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ตามลำดับ และมีข้อเสนอแนะคือ ควรมีโปรแกรมที่นักเรียนสามารถประเมินครูผู้สอนได้ ระบบควรรองรับการจัดซื้อ-จัดจ้างตามระเบียบพัสดุได้ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการสำมะโนประชากรกับหน่วยงานการปกครองได้
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
ปถมภรณ์ สุขสะอาด. 2551. “ปัญหาการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารใน การบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2.”วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.
พิมพ์สุจี นวลขวัญ. 2555. “สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2.”วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ ศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.
พรพัสนันท์ พรพุทธิชัย. 2554. “สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนตรี สังข์โต. 2554. “สภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารงานโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2.” วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมโพธน์ ชำนาญดี. 2551. “สำนักงานคณะกรรความต้องการของข้าราชการครูที่มีต่อการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารในโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.2554ก. คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2554ข. แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.2556. แนวทางการจัดการเรียน การสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. 2556. พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติพ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ. 2545). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สุริยา ทับน้อย. 2552. “การปฏิบัติการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี.”วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โสภา ตุ้มช้าง. 2550. “ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพของ ระบบสารสนเทศของโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อภิชิต บุญผ่องศรี. 2554. “สภาพการปฏิบัติ และปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนในอำเภอ ปากชม จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเลย เขต 1.”วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
Georgie, R. 1999. “Education Chalks up Major Investment Cash.” Retrieved March 15, 2012.
Glenda C. R., Brenda T. G., Thomas A. R. 2006. “Quality Assurance in Teacher Education: Warranty Programs.” National Forum of Teacher Education Journal- Electronic,16, 1-2.
Vicky, P. 1998. "Virtual Classrooms" In Nation's Business. U.S. Chamber of Commerce; Washington, DC 20062-2000.
Yamane, T.1973. “Statistics: An Introductory Analysis.” Third edition.Newyork: Harper and Row Publication.