ภาพลวงตาทางการเงิน: กรณีศึกษาฐานะการเงิน ของสหกรณ์การเกษตรจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ชาญณรงค์ ชัยพัฒน์

บทคัดย่อ

การดำเนินงานของสหกรณ์ให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารสหกรณ์ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มีการวางแผนทางการเงิน และจัดสรรเงินทุนที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งมีความเสี่ยงในระดับที่ไม่สูงมากนัก ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์วิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเงินทุน-ผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตร จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมดูแลสหกรณ์ให้เกิดความมั่นคงทางการเงิน โดยการวิจัยใช้ข้อมูลทางการเงินประจำปีบัญชี 2553 ของสหกรณ์การเกษตร จังหวัดปทุมธานีจำนวน 8 แห่ง
ผลการวิจัยพบว่าสหกรณ์ที่มีสถานะดีมีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่สหกรณ์การเกษตรศิริรวมทรัพย์ จำกัด สหกรณ์การเกษตรลาดหลุมแก้วพัฒนา จำกัด และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.ปทุมธานี จำกัด สหกรณ์ที่มีสถานะเสี่ยงมีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่สหกรณ์การเกษตรสามโคก จำกัด สหกรณ์การเกษตรคลองหลวงจำกัด และสหกรณ์การเกษตรลำลูกกา จำกัด ส่วนสหกรณ์ที่มีสถานะน่าสงสัยมีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่สหกรณ์รวมใจพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสามโคก จำกัด และสหกรณ์การเกษตรเมืองปทุมธานี จำกัด เมื่อพิจารณาโดยรวมพบว่าสหกรณ์การเกษตรทั้ง 8 แห่ง มีแหล่งที่มาของเงินทุน จากหนี้สิน (เงินรับฝาก) ร้อยละ 80.56 และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 3.49 เท่า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ดังนั้นผู้บริหารสหกรณ์รวมถึงคณะกรรม การกำกับดูแลสหกรณ์ จะต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงทางด้านเงินทุน และควรจะมีการระดมเงินทุนในส่วนของทุนเพิ่มขึ้น หรือลดสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อลง เพื่อให้โครงสร้างเงินทุนอยู่ในระดับที่เหมาะสม

Article Details

How to Cite
ชัยพัฒน์ ช. (2018). ภาพลวงตาทางการเงิน: กรณีศึกษาฐานะการเงิน ของสหกรณ์การเกษตรจังหวัดปทุมธานี. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 101–111. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/117047
บท
บทความวิจัย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2548). ประเมินความเสี่ยงภัยทางการเงินของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2554.

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2554). รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน ปี 2553. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2554.

จันทร์แรม ยอดเสน่ห์. (2551).วิเคราะห์เปรียบ เทียบโ ครงสร้างเงินทุน ต้นทุน-ผลตอบแทน เงินทุนสหกรณ์เครดิตยูเนียน ในอำเภอเขา ย้อย จังหวัดเพชรบุรี. ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์. บัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล. (2548). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2552). “ปัจจัยกำหนดโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยช่วงก่อนและภายหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ” วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 15(5).

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). การบริหารเชิงกลยุทธ์: Strategic Management, แนวคิด & การศึกษา. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

Graham, C Hall., Patrick, J Hutchinson., and Nicos Michaelas. (2004). “Determinants of Capital Structures of European SMEs.” Journal of Business Finance &
Accounting. 31: 711-728.

Nguyen, Tran and Neelakantan. (2006). “Capital Structure in Small and Medium- sized Enterprises: The Case of Vietnam.” ASEAN Economic Bulletin. 23: 192-211.

Titman, Sheridan and Wessels, Roberto. (1988). “The determinants of capital structure choice.” Journal of Finance. 40(1): 1-19.