ปัจจัยเชิงสาเหตุของการรู้หนังสือ และความสามารถในการอ่าน เพื่อรองรับโลกศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์ สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, การรู้หนังสือและความสามารถในการอ่านโลกศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของการรู้หนังสือและความสามารถ ในการอ่านเพื่อรองรับโลกศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุของการรู้หนังสือและความ สามารถในการอ่านเพื่อรองรับโลกศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างแบบจำลอง การรู้หนังสือและความสามารถในการอ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ประชาชนไทยที่มีอายุระหว่าง 15-65 ปี ที่มีอาชีพครอบคลุม 3 ภาคการผลิต คือ ภาคบริการ ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม จำ นวน 2,000 คน ในเขตภูมิภาค 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง รวมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภูมิภาคละ 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการรู้หนังสือ และความสามารถในการ อ่านเพื่อรองรับโลกศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการอ่าน ด้านความรู้สึกนึกคิด ตนเองในการอ่าน ด้านแรงจูงใจในการอ่าน และด้านความผูกพันต่อการอ่าน 2) แบบจำลองการร้หู นังสือและ ความสามารถในการอ่านมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระดับพอใช้ โดยค่าสถิติที่ใช้วัดความสอดคล้อง ยอมรับได้ทุกค่า ยกเว้นค่าไค-สแควร์ (2= 553.23, p = 0.00, GFI = 0.97, CFI = 0.98, RMSEA = 0.048, SRMR = 0.039) และ 3) การรู้หนังสือและความสามารถในการอ่านได้รับอิทธิพลทางตรงจากความผูกพันต่อ การอ่าน และความรู้สึกนึกคิดต่อตนเอง และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากแรงจูงใจในการอ่าน และสิ่งแวดล้อม ที่ส่งเสริมการอ่าน เมื่อพิจารณาอิทธิพลรวม ซึ่งเป็นอิทธิพลทางตรงรวมกับอิทธิพลทางอ้อม พบว่า ปัจจัยที่มี อิทธิพลรวมสูงที่สุดคือ ความผูกพันต่อการอ่าน รองลงมาคือ ความรู้สึกนึกคิดต่อตนเองในการอ่าน แรงจูงใจ ในการอ่าน และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการอ่าน

References

Alivernini, F., Lucidi, F., Manganelli, S., and Di Leo, I. (2011). A map of factors influencing Reading literacy across European countries: direct, indirect and moderating effects. Procedia-Social and Behavioral Sciences, Volume 15, 3205-3210.

Andrea Netten, Ludo Verhoeven and Mienke Droop. (2011). Predictors of Reading Literacy in the Netherlands. Read Writ (2011), 24, 413-425.

Buluta, et at. (2012). “An SEM Model Based on PISA 2009 in Turkey: How Does the Use of Technology and Self-regulation Activities Predict Reading Scores?.” Procedia-Social and Behavioral Sciences, 64(2012), 564-573.

Duanfchit, S. (2009). The Factors Influencing Love-of-Reading Habit of Matthayomsueksa 3 Student in Changwat Si Sa Ket. (Master Degree thesis), Mahasarakarm: Mahasarakarm University. (in Thai)

Fabio Aliverninia, Fabio Lucidib, Sara Manganellia, Ines Di Leoa. (2011). A map of factors influencing reading literacy across European countries: direct, indirect and moderating effects. Procedia Social and Behavioral Sciences, 15(2011), 3205-3210.

Guthrie, J. T., Wigfield, A., and Wei You. (2012). Instructional Contexts for Engagement and Achievement in Reading. Department of Human Development and Quantitative Methodology, University of Maryland.

Jumnaksarn, S. (2013). The Development of Causal Relationship Model of Factors Influencing Reading Literacy of 15-Year-Old Students in Thailand. Doctoral’s dissertation. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

Kaemkate, W. (2010). Study on Reading Situation and Thai Reading Index 2010. Thailand Knowledge Park. Office of Knowledge Management and Development (OKMD). (in Thai)

Perkins, R. et al. (2011). Reading Literacy in PISA 2009: A Guide for Teachers. Ireland: Educational Research Centre. p.88.

Qiuying Wang, Ze Wang and Steven J. Osterlind. (2011). Modeling the Effects of Home and Student Factors on Text Comprehension. New Waves - Educational

Retelsdorf, J., O.Koller, and J. Moller. (2011). On the effects of motivation on reading performance growth in secondary school. Learning and Instruction, 21, 550-559.

Swalander, L., and Taube, K. (2007). Influences of Family Based Prerequisites, Reading Attitude, and Self-Regulation on Reading Ability. Contemporary Educational Psychology, v32 n2 April 2007, 206-230

Wigfield, A., Guthrie, J.T., Perencevich, K. C., Taboada, A., Klauda, S.L., McRae, A., and Barbosa, P. (2008). Role of reading engagement in mediating the effects of reading comprehension instruction on reading outcomes. Psychology in the Schools, 45, 432-445.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29