จริยธรรมการตีพิมพ์
มาตรฐานทางจริยธรรมของวารสารสุโขทัยธรรมาธิราช
ผู้เขียนบทความ
- ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับถึงบรรณาธิการวารสารสุโขทัยธรรมาธิราชผ่านระบบวารสารสุโขทัยธรรมาธิราชด้วยระบบออนไลน์ และไม่ส่งบทความไปยังวารสารอื่นในเวลาเดียวกัน
- วารสารสงวนสิทธิ์ที่จะเรียบเรียงและอาจปรับปรุงการนำเสนอบทความตามความเหมาะสม และความคิดเห็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
= หากตรวจพบว่า มีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสาร ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร
กองบรรณาธิการ
- กองบรรณาธิการจัดทำวารสารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสารและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้อ่านและผู้นิพนธ์
- กองบรรณาธิการปรับปรุงควบคุมคุณภาพของบทความในวารสารอย่างต่อเนื่อง
- กองบรรณาธิการรับฟังความคิดเห็นของผู้อ่านและผู้นิพนธ์ เน้นความถูกต้องของบทความในวารสาร
- กองบรรณาธิการปฏิบัติตามมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ
- กองบรรณาธิการยอมรับและแก้ไขข้อผิดพลาดจากการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัยในข้อผิดพลาด
บรรณาธิการ
- บรรณาธิการดำเนินการเพื่อรับรองคุณภาพของผลงานวิชาการของผู้นิพนธ์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร
- บรรณาธิการตัดสินใจการยอมรับหรือปฏิเสธผลงานวิชาการเพื่อการตีพิมพ์ตามความสำคัญ ความทันสมัย ความถูกต้องของเนื้อหา ความชัดเจนของผลงานวิชาการ และขอบเขตของวารสาร
= บรรณาธิการมีความพร้อมในการชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินผลงานวิชาการ (peer review) รวมทั้งความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการตรวจสอบที่ได้ระบุไว้
- ผู้นิพนธ์สามารถอุทธรณ์บรรณาธิการได้ หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์ในทุกเรื่องที่ผู้นิพนธ์ควรรับทราบ และมีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- บรรณาธิการไม่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับผลงานวิชาการที่ถูกปฏิเสธการติพิมพ์ไปแล้ว ยกเว้นมีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นในกระบวนการของวารสาร
- บรรณาธิการจัดพิมพ์รายละเอียดของคำแนะนำแก่ผู้ประเมินบทความที่บรรณาธิการต้องการ และมีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- บรรณาธิการมีระบบที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ
- บรรณาธิการมีระบบที่ทำให้มั่นใจได้ว่าผลงานวิชาการที่ส่งเข้ามายังวารสาร จะได้รับการปกปิดเป็นความลับในระหว่างกระบวนการพิจารณาประเมิน
ผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องคํานึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทาง วิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทําการประเมิน
- หากผู้ประเมินบทความตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ ผ้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้
การร้องเรียนและกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนที่มีต่อวารสาร
- บรรณาธิการดำเนินการตามกระบวนการทำงานของวารสาร
- บรรณาธิการมีการตอบกลับคำร้องเรียนในทันที และควรให้ผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนได้อีกหากยังไม่พอใจ
- บรรณาธิการมีการเปิดเผยคำวิจารณ์ผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ยกเว้นบรรณาธิการจะมีเหตุผลอื่นที่ดีเพียงพอในการไม่เปิดเผยคำวิจารณ์นั้น
- บรรณาธิการเปิดโอกาสให้ผู้นิพนธ์ผลงานวิชาการที่มีคนอื่นวิจารณ์ให้สามารถชี้แจงตอบกลับได้ รวมถึงผลงานวิชาการที่มีความขัดแย้งกับผลงานวิชาการที่ลงตีพิมพ์ไปแล้ว
- บรรณาธิการทำให้เกิดความมั่นใจว่า รายละเอียดทุกส่วนในผลงานวิชาการที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร ต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับ
- บรรณาธิการทำให้มั่นใจว่า ผลงานวิชาการทุกชิ้นที่จะตีพิมพ์นั้นต้องได้รับการอนุมัติและเห็นชอบจากกองบรรณาธิการและคณะกรรมการจัดทำวารสาร แต่การพิจารณาอนุมัตินั้นไม่ได้เป็นการรับประกันว่าผลงานวิชาการนั้นถูกต้องตามหลักจริยธรรมเสมอไป
- บรรณาธิการต้องปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลในผลงานวิชาการให้เป็นความลับ อย่างไรก็ตาม บรรณาธิการสามารถตีพิมพ์ผลงานวิชาการได้โดยไม่ต้องมีเอกสารยินยอมหากบทความนั้นหากมีความสำคัญต่อคนทั่วไป หรือมีความยากลำบากในการได้มาซึ่งเอกสารยินยอม และบุคคลผู้นั้นไม่คัดค้านต่อการตีพิมพ์เผยแพร่
- ผู้ร้องเรียนสามารถอุทธรณ์ต่อข้อแนะนำของคณะกรรมการจัดทำวารสารได้
- ข้อร้องเรียนของผู้นิพนธ์ ผู้อ่าน ผู้ประเมิน บรรณาธิการอาจมีการส่งมาให้กองบรรณาธิการและคณะกรรมการจัดทำวารสารพิจารณา
ในการร้องเรียนวารสารนั้น ผู้ร้องเรียนต้องร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรไปที่บรรณาธิการโดยตรงก่อนหากข้อร้องเรียนไม่ได้รับการแก้ไขเป็นที่น่าพอใจ ผู้ร้องเรียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนนั้นต่อคณะกรรมการจัดทำวารสาร
- ข้อร้องเรียนที่ผ่านขั้นตอนการร้องเรียนต่อวารสารเท่านั้นจึงจะสามารถส่งต่อมาที่คณะกรรมการจัดทำวารสารได้ ทั้งนี้ให้แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกอย่างมาด้วย
- คณะกรรมการจัดทำวารสารจะรับข้อร้องเรียนภายใน 6 เดือนหลังจากวารสารได้พิจารณาข้อร้องเรียนเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้คณะกรรมการจัดทำวารสารอาจพิจารณานอกระยะเวลาดังกล่าวนี้เป็นกรณีพิเศษได้
- คณะกรรมการจัดทำวารสารจะไม่พิจารณาการร้องเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาของการตัดสินตีพิมพ์บทความของบรรณาธิการ แต่จะพิจารณากระบวนการ หรือข้อวิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาในผลงานวิชาการ
- คณะกรรมการจัดทำวารสารพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าว หลังจากนั้นจะทำการแจ้งให้ผู้ร้องเรียน รับทราบถึงข้อแนะนำสุดท้ายซึ่งอาจมีดังนี้:
ให้บรรณาธิการทำการขอโทษต่อผู้ร้องเรียนตามข้อร้องเรียนที่ได้รับ
ให้บรรณาธิการทำการลงข้อความที่ได้รับจากคณะกรรมการจัดทำวารสาร
ให้วารสารทำการปรับปรุงกระบวนการดำเนินการของวารสาร
การติดตามความประพฤติมิชอบ
- บรรณาธิการติดตามความผิดปกติหรือข้อสงสัยของผลงานวิชาการทั้งที่ได้รับการตีพิมพ์และยังไม่ได้รับการตีพิมพ์
- บรรณาธิการจะไม่ปฏิเสธผลงานวิชาการที่มีความผิดปกติหรือข้อสงสัยทันที แต่ต้องติดตามหาข้อเท็จจริงก่อน
การรับรองความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
- เมื่อมีการรับรู้ว่า มีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ไปแล้ว บรรณาธิการต้องแก้ไขทันที
- หากปรากฎการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยหลักฐานที่มีความชัดเจน ทั้งนี้การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทราบด้วย
ผลประโยชน์ทับซ้อน
- บรรณาธิการมีระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน การขัดกันด้านผลประโยชน์ของบรรณาธิการเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และกองบรรณาธิการ
อ้างอิงจาก http://www.publicationethics.org/files/2008%20Code%20of%20Conduct.pdf