การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนกับ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิตเขตกรุงเทพมหานคร ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

ผู้แต่ง

  • ตรัยรัตน์ ปลื้มปิติชัยกุล สาขาวิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การเปิดรับข่าวสารทางการเมือง, สื่อทางการเมือง, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, นักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญญา บัณฑิตเขตกรุงเทพมหานคร ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตลอดจนการมี ส่วนร่วมทางการเมือง และความสัมพันธ์ในการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทาง การเมืองของนักศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจในนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตทั้งกลุ่มสายสังคมศาสตร์ และสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาหญิงระดับปริญญาบัณฑิตให้ความสำคัญต่อข่าวสาร ในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีการให้น้ำหนักน้อย นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในภาคกลางให้ความสำคัญเกี่ยวกับข่าวสารและการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด ขณะที่นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในภาคอีสานและภาคเหนือนั้นให้น้ำหนักกับข่าวสารน้อยถึงน้อยที่สุด สะท้อน ให้เห็นฐานอำนาจกลุ่มการเมืองดั้งเดิมในระบอบทักษิณที่ยังแฝงฝังอุดมการณ์ทางการเมืองจนเป็นภาพแทน ประกอบกับมุมมองของนักศึกษาที่ปฏิเสธการครอบงำเชิงอำนาจของรัฐบาล ในส่วนพฤติกรรมการเปิดรับ ข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชนพบว่า โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางที่เปิดรับข่าวสารทางการเมืองมากที่สุด ด้วย ความคุ้นชินในการเข้าไปสื่อแสดงตนในแต่ละวัน ทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการเมืองได้ง่ายและรวดเร็ว ขณะเดียวกัน สื่อโทรทัศน์ มีอิทธิพลช่วยสำทับความรู้และความน่าเชื่อถือให้กับเยาวชนในข่าวสารจากโซเชียลมีเดียที่ได้รับและในแง่การรับฟังร่วมกับการประกอบกิจกรรมอื่น ๆ ควบคู่กันไป ขณะที่สื่อวิทยุกระจาย เสียงยังมีอิทธิพล แต่หนังสือพิมพ์ ยังยากจะเข้าถึงเยาวชนเพราะรายละเอียดของเนื้อหามากและต้องจัดการ ซื้อหา ขาดความสะดวกในการเข้าถึง ด้านการรับรู้เนื้อหาข่าวสารด้านนโยบาย พบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้เกี่ยวกับเนื้อหาข่าวสารของรัฐบาลฯ ระดับมาก โดยเฉพาะด้านนโยบายและด้านกิจกรรมมีการ รับรู้มาก ทั้งนี้ ความถี่ในการเปิดรับและการรับรู้เนื้อหาข่าวสารทางการเมืองมีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง และจากสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์สามารถร่วมกันส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง

References

Boonbongkan, S., and Pongkew P. (1984). Behavior of Thai voters. Bangkok Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Cheypratub, S. (1991). Communication with social change in underdeveloped countries, considering attitudes, situations and behaviors. Journal of Communication Arts 12 (Early Semester). (in Thai)

Dahl, R. A. (1961). A preface to democratic theory. Chicago: University of ChicagoPress.

McClosky, Herbert. (1968). Political Participation in The International Encyclopedia of the SocialScience.Vol.12.p.252. NewYork: McMillan and FreePress.

Michael E. Bishop. (1973). Media use and Democratic Political Orientation in Lima, Peru, Journalism Quarterly, Vol. 50 No. 1.

Plonchareon, V. (2008). Media exposure to political participation of St. John’s University students. Master Degree of Liberal Arts (Mass Communication) Ramkhamhaeng University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29