ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง : การเปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตรกร ในการทำเกษตรแบบพันธะสัญญา ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์

ผู้แต่ง

  • วสันต์ ปวนปันวงศ์ วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม, เกษตรแบบพันธะสัญญา, ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่น้าโขง

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของเกษตรกรในการทำเกษตร แบบพันธะสัญญาตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขงในจังหวัดเมียวดี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความร่วมมือของรัฐในโครงการการทำ เกษตรแบบพันธะสัญญากับประเทศเพื่อนบ้านตามยุทธศาสตร์นี้ 2) สภาพทางสังคมของเกษตรกร จังหวัดเมีย วดี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในช่วงก่อนและหลังการทำเกษตรแบบพันธะสัญญาตามยุทธศาสตร์นี้ และ 3) ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมของเกษตรกร ในการทำเกษตรแบบพันธะสัญญา ตามยุทธศาสตร์นี้ ในจังหวัดเมียวดี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายใต้บริบทของ ความสัมพันธ์ของอำนาจทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมีผลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐโดยเฉพาะนโยบาย ด้านเศรษฐกิจ 2) สภาพทางสังคมของเกษตรกร จังหวัดเมียวดี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในช่วงก่อน และหลังการทำเกษตรแบบพันธะสัญญาตามยุทธศาสตร์นี้ มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิมคือ ก่อนการเข้ามา ของโครงการเกษตรแบบพันธะสัญญาตามยุทธศาสตร์นี้จะมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีการผลิตที่ยังไม่ เข้มข้น การทำเกษตรกรรมส่วนใหญ่อาศัยแรงงานภายในครอบครัวเป็นหลัก ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีการนำเข้าเทคโนโลยีและปัจจัยการผลิต ลักษณะของการทำเกษตรกรรมภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นการปลูกพืชไร่ใน รูปแบบเกษตรแบบพันธะสัญญาจากพ่อค้าหรือผู้ประกอบการทางฝั่งไทย ซึ่งลักษณะของการทำเกษตรแบบ พันธะสัญญาในหมู่บ้านได้เริ่มมีมาก่อนการเข้ามาของโครงการเกษตรแบบพันธะสัญญาตามยุทธศาสตร์นี้ แต่ ไม่ได้มีจำนวนของการลงทุนมากมาย ระบบการทำเกษตรในรูปแบบของพันธะสัญญายังอาศัยความสัมพันธ์ ส่วนตัวของเกษตรกรและผู้ประกอบการหรือพ่อเลี้ยงเป็นสำคัญ ต่อมา ภายหลังการเข้ามาของโครงการการทำ เกษตรแบบพันธะสัญญาตามยุทธศาสตร์ ลักษณะของการทำเกษตรแบบพันธะสัญญามีความแตกต่างไป จากเดิม มีการลงทุนสูง มีการนำเข้าเทคโนโลยีและสารเคมีในการผลิต จำนวนผู้ประกอบการและพื้นที่เพาะ ปลูกเพิ่มขึ้น และ 3) จากการขยายตัวธุรกิจการทำเกษตรแบบพันธะสัญญาดังกล่าวทำให้สภาพทางด้านสังคม ของเกษตรกรในพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งลักษณะครอบครัว แบบแผนการดำเนินชีวิต ระบบค่านิยมความเชื่อ ลักษณะอาชีพ วิถีการผลิต และวิถีการบริโภค นอกจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมของ เกษตรกรที่ทำเกษตรแบบพันธะสัญญาตามยทุธศาสตร์นี้แล้ว การเข้ามาของโครงการเกษตรแบบพันธะสัญญานี้ ยังได้ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อเกษตรกรและคนในพื้นที่ ผลในด้านบวก ได้แก่ ก่อให้ เกิดการสร้างอาชีพ ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ ทำให้ระบบความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของเกษตรกรดีขึ้น ก่อให้เกิดการแพร่ขยายของการรับรู้องค์ความรู้เรื่องการเพาะปลูก เกิดระบบอุปถัมภ์ในสังคมเกษตรกรอย่าง เข้มข้น และก่อให้เกิดการพัฒนาถนนหนทางในหมู่บ้าน ส่วนผลกระทบในด้านลบ ได้แก่ ก่อให้เกิดการลดลง ของพื้นที่ป่าไม้และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสุขภาพต่อเกษตรกร การเกิดภาระ หนี้สิน การขูดรีด และความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและคนในชุมชนลดน้อยลง

References

Baker, T. A. (2011). Lessons for the Potential Use of Contract Farming with Small Land Holding Farmers in Myanmar. Vahu Development Institute.

David, H. (2012). A Brief History of Neoliberalism. translated by Kengkij K., et al. Bangkok: Suan Nguen Mee Ma, pp. 112-113.

Eaton, C., & Shepherd. A. W., (2001). Contract Farming: Partnerships for Growth (No. 145). FAO.

Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. (2007). The Project to Study Appropriateness in Establishing An Industrial Estate, Its Environmental Impact, and Production Structure Adjustment in Tak Province: A Case Study on Agricultural Development and Guideline
for Adjusting Agricultural Structure (Research report). Chiang Mai: Faculty of Agriculture: Chiang Mai University, p. 21. ( in Thai)

Jamaree, C. (2011). From Marxism to Neoliberalism: Building Rural Laos in the Modern World and ‘Development’ in the Economic Square. Chiang Mai: Centre for Research and Academic Services, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University. (in Thai)

Kanokwan, M., et al. (2011). The Border Area of Northeastern Thailand and Its Neighbor, Technical Findings, and Policy Implications: A Case Study on How Cambodians View Thais, Stateless People, and the Two Friend Countries. Ubon Ratchathani: The Mekong
Sub-Region Social Research Center (MSSRC), Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University, p. 15. (in Thai)

Martinussen, J. (1997). Society, State and Market: A Guide to Competing Theories of Development. London: Zed Books.

Phongtape, W. (2007). Informal Agriculture Workers: Rights and Welfare of Contract-farming and Employed Farmers. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation (THPF), pp. 12-14. (in Thai)

Pinkaew, L. (2011). Capitalism at the Border: Rubber Agricultural Estate and Changes of Agricultural Society in Southern Laos. Chiang Mai: Centre for Research and Academic Services, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University. (in Thai)

Roth, R. (2002). Contract Farming Breeds Big Problems for Growers. Famers’ Legal Action Report.

Sopin, T. (1993). Agricultural Policy of Thailand. Bangkok: Agricultural and Resource Economics Department, Faculty of Economics, Kasetsart University, pp. 187-188. (in Thai)

Strange, S. (1996). The Retreat of The State: The Diffusion of Power in The World Economy. Cambridge university press.

Sujinda, C. (2008). Research Project for Obtaining Strategies on Border City Development: A Case Study of Mae Sot District, Tak Province (Research report). Phitsanulok. Faculty of Management and Information Science, Narasuan University, p. 340. (in Thai)

Surapon, S. & Dudsadee, N. L. (2008). “Investment Plan and the Process of Contract Farming in 2006/2007 Under the ACMECS Framework in Bordering Area of Mae Sot, Tak Province, and Myawaddy”. Faculty of Agriculture: Chiang Mai University. (in Thai)

Sutthichai, I. (2012). “Business and Society”. Contract Farming 29 (2012), p. 27.

Yonlada, P. (2012). Legal Measures for Implementing Contract Farming to Promote Agricultural Products of the ASEAN Economic Community. Phetchabun Rajabhat Journal, 14(1), pp. 80-87. (in Thai)

Website
Arnon, S. (n.d.). Mae Sot-Myawaddy, the Twin Cities: How to Adapt to the Opening of AEC. Retrieved November 17th, 2012, from http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/aec_sister_city.pdf. (in Thai)

Pakawadee, V. (2012). “Neoliberalism?”: A Discussion at Book Re:Public. Retrieved June 28th, 2013, from http://prachatai.com/journal/2012/12/44009. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28