กลยุทธ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Wassana Suwanvijit

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ ชายฝั่งอันดามันของประเทศไทย นักท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งอันดามันของประเทศไทย และเสนอกลยุทธ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา และตรัง รวมจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนชุมชน เจ้าหน้าที่อุทยาน เจ้าหน้าที่ท่าอากาศยาน รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่ฯ และใช้ข้อมูลสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test รวมทั้งการวิเคราะห์ SWOT

ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอันดามันโดยภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก นักท่องเที่ยวมีทัศนคติในด้านการให้บริการมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านการเข้าถึง ด้านราคา และ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ ทั้งนี้นักท่องเที่ยวที่มีถิ่นที่อยู่ต่างกัน มีทัศนคติในด้านการบริการแตกต่างกัน สำหรับการวิเคราะห์สถิตินักท่องเที่ยวในพื้นที่ท่องเที่ยวอันดามัน พบว่า ระหว่างปี 2550 - 2560 นักท่องเที่ยวในพื้นที่ท่องเที่ยวอันดามันมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีจุดแข็งทางด้านแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และทำเลที่ตั้ง อย่างไรก็ตามยังมีจุดที่ควรพัฒนาเพื่อให้การท่องเที่ยวในพื้นที่ฯ มีมาตรฐานระดับสากล ผู้วิจัยจึงได้เสนอกลยุทธ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ฯ ด้านการสร้างคุณค่าให้กับแหล่งท่องเที่ยว การบริหารจัดการ และการส่งเสริมการตลาด เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งที่ท่องเที่ยวระดับโลกที่มีความยั่งยืน  

References

Airports of Thailand Public Company Limited. (2009). Travel Statistics on Transportation Networks in the Southern Provinces of Andaman. www.osmsouth-w.moi.go.th/file-data/789554.doc (in Thai)

Boone, L.E., and Kurtz, D.L. (2005). Contemporary marketing 2005. Ohio: Thomson South - Western.

Chansomwong, N. (2015). Tourism Development Action Plan within the Andaman Tourism Development Zone 2016 - 2020. Tourism Development Board Regularly for Andaman tourism development area. http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7122 (in Thai)

Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation. (2016). Summary report of tourists entering the national park for the fiscal year 2015. http://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=17751ce9-2b4b-485e-a6f8-8b46683c27ba.pdf

Hawkins, D.I., Best, R.J. and Coney, K.A. (2004). Consumer behavior: Building marketing strategy (9thed.). Boston: McGraw Hill.

Lamaijeen, K. (2009). Ecotourism Culture. Ubonra. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University. (in Thai)

Mechinda, P. (2009). Loyalty of Thai and Foreign Tourists towards Tourist Attractions in Chiang Mai. and Phuket. http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=MRG4980203 (in Thai)

Ministry of Tourism and Sports. (2015). Integration for driving the Thai tourism strategy 2015 - 2017. http://jpp.moi.go.th/files/MOTS.pdf (in Thai)

Office of Strategic Management Group, Southern Province, Andaman Coast. (2014). Development Plan for the Southern Provinces of Andaman Coast (Ranong, Phang Nga, Phuket, Krabi, Trang) 2015 - 2018. http://www.osmsouth-w.moi.go.th/article/145511788.docx (in Thai)

Promprom, E. (2012). High Level Organizational and Strategic Management Theory. http://promrucsadba04.blogspot.com/2012/10/swot-analysisswot-swot-humphrey-swot-2.htm (in Thai)

Schiffman, L.G., and Kanuk, L.L. (2007). Consumer Behavior (9thed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Statistics and Research Division, Tourism Authority of Thailand. (2016). Number of Visitors to the Province in Southern Thailand, 2012-2015. http://southinfo.psu.ac.th/images/DATA/4-Statistic/table_Part55.pdf (in Thai)

Tourism Authority of Thailand. (online). Tourist Statistics. (in Thai) https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=411&filename=index

Wattanasirisirikul, S. (2011). Factors Affecting the Decision to Come Back to Thailand for Foreign tourists. Chiang Mai: Graduate School Chiang Mai University. (in Thai)

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29