บทสำรวจกระบวนทัศน์การพัฒนาภาคของประเทศไทย : กรณีศึกษาผังภาค พ.ศ.2600

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล แสงอรุณ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วราลักษณ์ คงอ้วน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่, การพัฒนาภาค, ผังภาค พ.ศ.2600

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาระและกระบวนทัศน์การพัฒนาภาคที่ปรากฏอยู่ในผังภาค พ.ศ.2600 ทั้ง 6 ผัง ผ่านการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับทฤษฎีการวางแผนและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนภาค ผลการวิจัยพบว่า แม้ผังภาค พ.ศ.2600 จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนาที่เหมือนกัน แต่รายละเอียดการกำหนดวิสัยทัศน์ ผังนโยบาย และกลยุทธ์การพัฒนาจะแตกต่างกันตามสถานการณ์และศักยภาพของแต่ละภาค นอกจากนี้ แม้ผังภาค พ.ศ.2600 แต่ละผังจะให้ความสำคัญกับการนำผังไปสู่การปฏิบัติ แต่ยังขาดความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนในการผลักดันนำผังไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ตลอดจนการจัดทำเนื้อหาแนวทางการติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาภาคของแผนชาติในอนาคต จึงได้แก่ (1) การส่งเสริมให้มีกระบวนการนำผังไปสู่การปฏิบัติและการติดตาม ประเมินผลให้มากขึ้น (2) การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนในการจัดทำและนำผังไปสู่การปฏิบัติ (3) การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงของแผนหรือผังในทุกระดับ และ (4) การนำหลักการและแนวคิดทางวิชาการที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำผังเพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา

References

American Planning Association. (2007). Planning and Urban Design Standards Student Edition. New Jersey: John Wiley and Son, Inc.

Department of Public Works and Town & Country Planning, Auros Co.Ltd., PSK consultant Co.Ltd. (2019). Final Report: Spatial Analysis and Evaluation of Northern Region, Central Region, Northeastern Region, and Southern Region. Bangkok : Department of Public Works and Town & Country Planning.

Hall, P. (2002). Urban and Regional Planning. 4th ed. London: Routledge.

Haselsberger, B. (2008). Regional Survey: New Thinking about Regional Planning in the YAN. In Regions: The Voice of the Membership.

Khongouan, W. (2016). Urban Environmental Management and Planning. Bangkok : Thammasat University Press.

Larz, T.A. (1995). Guidelines for preparing urban plans. Chicago: APA Planners Press.

Ministry of Interior. (2018). Meaning of Livable City. Retrieved from 15 July 2019, http://www.mahadthai.com/html/goodhome/body.htm#m2.

Peerapun, W. (2013). Analytical Techniques for Urban and Regional Planning. 3rd edition. Bangkok : Charansanitwong Printing.

Thai Urban Designers Association. (n.d.). Livable City and Energy Efficient city. Bangkok : Thai Urban Designers Association.

Thaitakoo, D. (2013). Regional Planning. Bangkok : Chulalongkorn University.

Thavinpipatkul, D. (n.d.). Economics for Reginal Planner. Bangkok : Department of Urban and Regional Planning, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University.

United Nations. (2015). 2014 Revision of World Urbanization Prospects. Retrieved from 19 October 2015, Website: http://esa.un.org/unpd/wup/FinalReport/WUP2014-Report.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-17