การพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ตะวัน เดชภิรัตนมงคล สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, การควบคุมคุณภาพ, การพัฒนามาตรการทางกฎหมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามความตกลงระหว่างประเทศ ระเบียบประชาคมยุโรป กฎหมายประเทศญี่ปุ่น และกฎหมายไทย 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามความตกลงระหว่างประเทศ ระเบียบประชาคมยุโรป กฎหมายประเทศญี่ปุ่น และกฎหมายไทย และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนากฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า อนุสัญญากรุงปารีส ความตกลงมาดริด ความตกลงลิสบอน และความตกลงทริปส์  ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นการเฉพาะ แต่มีหลักการทั่วไปที่สอดคล้องกันคือ การห้ามใช้ชื่อที่ทำให้สับสนหลงผิดต่อสาธารณชน ส่วนระเบียบประชาคมยุโรปที่ 1151/2012 และ The Geographical Indications Act ของประเทศญี่ปุ่นมีสภาพบังคับให้ผู้ยื่นคำขอต้องแสดงหลักฐานการการได้รับการควบคุมคุณภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนขอจดทะเบียน และเมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้ว กฎหมายให้ผู้ผลิตมีหน้าที่ต้องแสดงชื่อเรียก สัญลักษณ์บนสินค้า อีกทั้งเมื่อมีข้อสงสัยในคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์กฎหมายมีสภาพบังคับให้เพิกถอนทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ ขณะที่กฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยกลับไม่มีบทบัญญัติในประเด็นนี้ทำให้เกิดอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย และส่งผลถึงมาตรฐานสินค้า ผู้วิจัยจึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยบัญญัติให้มีการแสดงหลักฐานการควบคุมคุณภาพสินค้าก่อนการขอขึ้นทะเบียน ให้ผู้ผลิตสินค้าปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานสำหรับผู้ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และแผนควบคุมตรวจสอบตามที่ได้ยื่นไว้ในขณะขอขึ้นทะเบียน ให้นายทะเบียนมีอำนาจควบคุมคุณภาพสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายหลังการรับการขึ้นทะเบียน ในการเฝ้าระวังดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามเกณฑ์ควบคุมคุณภาพที่ผู้ผลิตดำเนินการตามขั้นตอนควบคุมคุณภาพก่อนขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และเมื่อสถานการณ์ด้านคุณภาพสินค้าเปลี่ยนแปลงไปภายหลังการขึ้นทะเบียน ให้นายทะเบียนมีอำนาจแก้ไขหรือเพิกถอนทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ นอกจากนี้ควรแก้ไขเพิ่มเติมจุดเริ่มต้นนับระยะเวลาการอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ให้มีอายุ 2 ปี นับแต่วันที่ดำเนินการตรวจประเมินการปฏิบัติตามแผนและคู่มือปฏิบัติงานสินค้า

References

Antonella, C. (2015). International Law and Consumer Protection: The history of consumer protection. Retrieved 10 July, 2018, from http://www.nyulawglobal.org/globalex/International_Law_Consumer_Protection.html#_Toc409004452

Antony, T. Hannu, W., & Jayashree, W. (2012). A Handbook on the WTO TRIPs Agreement. New York: Cambridge University Press.

Blankeney, M. (2014). The Protection of Geographical Indications: Law and Practice. United Kingdom: Edward Elgar Publishing Limited.

Bodenhausen, G. (1969). Guide to the Application of the Paris Convention for the Protection of Industrial Property : as revised at Stockholm in 1967. Geneva : WIPO Publication.

Caenegem, W. (November 2003). Registered Geographical Indications Between Intellectual Property and Rural Policy—Part II. Bond University. Retrieved 23 December 2018, from htp://epublications.bond.edu.au/law_pubs/4

Department of Intellectual Property. Certification Scheme of Geographical Indication. Retrieved 9 May, 2019, from: http://www.acfs.go.th/km/download/ACFS-CSSA-R-SD-20-rev-00.pdf

European Commission. Accreditation of conformity assessment bodies. Retrieved 23 May 2019, from http://ec.europa.eu/growth/single-market/goods/building-blocks/accreditation_en

Geographical Indication Office. (B.E. 2549). Manual of Geographical Indications Registration. Department of Intellectual Property: Nonthaburi.

Geographical Indication Office. Registration of Geographical Indications. Retrieved 7 May, 2018, from https://www.ipthailand.go.th/images/781/GI_final1.pdf

Institut national de l'origine et de la qualité. The Public Body for Products Under Official Quality and Origin Signs. Retrieved 20 June, 2018, from www.inao.gouv.fr

Jakkrit, K. (B.E. 2548). International Law of Copyright Patent and Trademark. (4th ed.). Bangkok: Nititham Publishing.

Michael, B. (2014). The Protection of Geographical Indications: Law and Practice. Edward Elgar Publishing Limited

Minister of Agriculture, Forestry and Fisheries. (October 2015). Geographical Indication (GI) Protection System in Japan. Retrieved 10 January, 2018, from http://www.maff.go.jp/e/japan_food/gi_act/pdf/gi_pamph.pdf

Shigeo TASHIRO. (2017). Protection of Geographical Names (Regional Collective Trademark System/ Protection of Geographical Indications). Japan: Japan Patent Office.

The World Trade Organization. Geographical Indications: Background and the current situation. Retrieved 12 January, 2019, from https://www.wto.org/english/tratop_e/trips_e/gi_background_e.htm#wines_spirits,

UNCTAD - ICTSD. (2005). Resource Book on TRIPs and Development. USA : Cambridge University Press.

World Intellectual Property Organization. (2015). Main Provisions and Benefits of the Geneva Act of the Lisbon Agreement. Geneva: Switzerland. Retrieved 1 January, 2018, from http://www.wipo.int/export/sites/www/treaties/en/registration/lisbon/mainprovisions.pdf

World Intellectual Property Organization. (January 25, 2001). Geographical Indications: Historical Background, Nature of Rights, Existing Systems for Protection and Obtaining Effective Protection in Other. Geneva : WIPO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-17