การศึกษาการดำาเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดย ชุมชนตามแนวคิดกองทุนแม่ของแผ่นดิน

ผู้แต่ง

  • อำพร จินดารัตน์
  • อัญชนา ณ ระนอง

คำสำคัญ:

ยาเสพติด, การแก้ไขปัญหายาเสพติด, กองทุนแม่ของแผ่นดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวคิดกองทุนแม่ของแผ่นดินในการแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดโดยชุมชน 2) กระบวนการคัดเลือกชุมชนเข้าร่วมกองทุนแม่ของแผ่นดิน 3) รูปแบบการสนับสนุน
สำาหรับบทบาทป้องกัน บำาบัด และฟื้นฟูปัญหายาเสพติดของกองทุนแม่ของแผ่นดิน 4) รูปแบบการระดม
ทุนของสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน และ 5) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดย
ชุมชนการศึกษาอาศัยการวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม
ประชากรประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด
คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน และสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน รวมทั้งสิ้น 462 คน
ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดกองทุนแม่ของแผ่นดินในการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยชุมชน
ใช้แนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการพึ่งพาตนเองตามสภาพของแต่ละพื้นที่โดยยึดโยงกับ
ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจนำาไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือ การป้องกัน
และแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน 2) กระบวนการคัดเลือกชุมชนที่เข้าร่วมกองทุนแม่ของแผ่นดินพบว่า
มีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนกระบวนการคัดเลือกชุมชนที่เป็นมาตรฐาน มีรูปแบบเหมือนกันทุกแห่ง 3) รูปแบบ
การสนับสนุน สำาหรับบทบาทป้องกัน บำาบัด และฟื้นฟูปัญหายาเสพติดของกองทุนฯ พบว่า ได้รับการสนับสนุน
งบประมาณ บุคลากร การรับบริจาคเงิน มีการเดินรณรงค์ การตั้งจุดตรวจ การจัดกิจกรรมกีฬา การฝึกอบรม
การสนับสนุนผู้บำาบัดเข้าค่าย การส่งเสริมอาชีพ การร่วมติดตาม ช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ผ่านการบำาบัด
เมื่อเข้าสู่ชุมชน 4) รูปแบบการระดมทุนของสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดินพบว่า มีการระดมทุนจากทุนศรัทธา
ได้แก่ การทอดผ้าป่า การรับบริจาคเงิน และการระดมทุนจากทุนปัญญา ได้แก่ การจำาหน่ายสินค้า การปลูก
พืชในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านเพื่อนำาเงินเข้าสมทบ และ 5) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดโดยชุมชนพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับมาก โดยมีส่วนร่วมใน
ผลประโยชน์ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ มีส่วนร่วมในการประเมินผล และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
ยาเสพติด ตามลำาดับ

References

Bourdieu, P. (1983). The Form of Capital. Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education. (Edited J.G. Richardson). Westport, CT.: Greenwood Press.

Butler, S. & Mayock, P. (2005). An Irish solution to an Irish problem: harm reduction and ambiguity in the drug policy of the Republic of Ireland. International Journal of Drug Policy. 16(6), 415-422.

Chaowana, O. (2009). Solution to Narcotic Drug by Community Movement: A Case Study of Mae-ai District, Chiang Mai Province. Journal Quality of life and law. 5(1), 141-153.(in Thai)

Community Development Department. (2016). Performance of Maekongpandin Fund.Document of Performance of Maekongpandin’s Fund. Bangkok: CDD’s Planning Division. (in Thai)

Cohen, M. J. & Uphoff, T. N. (1980). Participation’s place in rural development: seeking clarity through specificity. World Development.

Department of Juvenile Observation and Protection. (2016). Strategic and Action Plan 2016-2019. Retrieved from http://www.djop.go.th/Djop/img/Doc/5962.pdf. (in Thai)

Gaines, T. L., Beletsky, L., Arredondo, J., Werb, D., Rangel, G., Vera, A., & Brouwer, K. (2014).Examining the Spatial Distribution of Law Enforcement Encounters among People Who Inject Drugs after Implementation of Mexico’s Drug Policy Reform. Journal of Urban Health. 92(2), 338-351.

Krahan, R. & Krahan, B. (2009). The Process of Protection and Solution of Narcotics Problem with the Principle of Buddhadhamma in Pa Phai Village, Mae Pong, Doi Saket District, Chiang Mai. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing. (in Thai)

Na Ranong, A. (2011). Research Methodology. Bangkok: Sangsawang World Place. (in Thai)

Office of the Narcotics Control Board. (2016). Drugs. Retrieved from https://www.oncb.go.th/DocLib18/Forms/AllItems.aspx. (in Thai)

Office of the Narcotics Control Board. (2017). Maekongpandin’s Fund. Retrieved from http://www.ppb.moi.go.th/midev03/upload/V-68.pdf. (in Thai)

Osmonaliev, K. (2005). Developing counter-narcotics policy in central Asia: Legal and political dimensions. Silk Road Paper. Retrieved from info@silkroadstudies.org.

Phuang-ngam, K. (2009). New dimensions of local government: Decentralized vision and local administration. 5th edition. Bangkok: Vinyuchon. (in Thai)

Pilun, K. (2014). Participatory Development of the People in Protection for Drug Problems Model: A Case Study Honghee Village, Yangtarad Sub-District, Yangtarad District, Kalasin Province. Mahasarakham University Research Conference. (in Thai)

Ruobngam, Y. (2002). The participation of the budget bureaucrats in bureaucratic reform. Master of Arts National Institute of Development Administration. (in Thai)

Thaifamilylink. 2016. Return to Health from Addiction. Retrieved from http://www.thaifamilylink.net/web/node/200. (in Thai)

United Nations. (1981). Popular Participation in Decision Making for Development. New York:United Nations Publication.

William, E. (1976). Participation Management : Concept Theory and Implementation. Atlanta:Georgia State University.

World Bank. (1998). Monitoring and Measuring Social capital: Over and Program Description.Washington: World Bank.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper International Edition:Tokyo.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29