ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
คำสำคัญ:
ปัจจัยความสำเร็จ, กฎหมาย, มาตรการอนุรักษ์การได้ยินบทคัดย่อ
เสียงดังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนวัยทำงาน กระทรวงแรงงานจึงได้ออกกฎหมายใหม่ที่ใช้บังคับเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การจัดมาตรการอนุรักษ์การได้ยินของสถานประกอบกิจการในประเทศไทย และ (2) ระบุปัจจัยความสำเร็จในการจัดมาตรการอนุรักษ์การได้ยินที่สอดคล้องตามกฎหมาย
กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้รับผิดชอบมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน จำนวน 111 คน จากสถานประกอบกิจการทั่วประเทศที่ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร “การจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินตามกฎหมาย” ผ่านศูนย์ความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงแรงงาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน ผลการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ 0.95 การทดสอบหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด
ผลการวิจัย พบว่า (1) สถานประกอบกิจการร้อยละ 61 มีสภาวะการทำงานที่มีระดับเสียงดังอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน และมีสถานประกอบกิจการร้อยละ 55 ที่ได้จัดให้มีมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 82 มีผู้รับผิดชอบคือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และ (2) มีสถานประกอบกิจการประมาณร้อยละ 20 ที่สามารถดำเนินการได้สอดคล้องตามกฎหมายร้อยละ 80 ขึ้นไป ผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่ระบุว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดมาตรการอนุรักษ์การได้ยินลำดับแรก คือ นโยบายและการสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง รองลงมาคือ ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของพนักงานตามลำดับ
References
Bureau of Occupational and Environmental Diseases. (2017). Situation of occupational diseases and health hazards from occupational health and environment 2016, Department of Disease Control. Ministry of Public Health. (in Thai)
Bureau of Occupational and Environmental Diseases. (2019). Situation of occupational diseases and health hazards from occupational health and environment 2018, Department of Disease Control. Ministry of Public Health. (in Thai)
Department of Labour Protection and Welfare. (2008). A study on the management system of the Workplace Hearing Conservation Program. Retrieved 23 January 2017, from http://www.oshthai.org/osh/index.phpoption=com_linkcontent&Itemid=69§ionid=34&pid=67.322&task=detail&detail_id=637&lang=th. (in Thai)
Government Gazette. (2016). Ministerial Regulation on the Prescribing of Standard forAdministration and Management of Occupational Safety, Health and Environment in Relation to Heat, Light and Noise B.E.2559 (A.D.2016). Volume 133, Section 91a. (in Thai)
Government Gazette. (2018). Announcement of the Department of Labour Protection and Welfare on Criteria and Procedures for Establishing Hearing Conservation Measures in the Workplace, B.E.2561 (A.D.2018). Volume 135, Special Section 134 D. (in Thai)
Mooyad, M.A. (2017). The Effectiveness of Hearing Conservation Program in the Workplace. Glob J Oto 2017; 5(4): 555666 .DOI: 10.19080/GJO.
National Institute for Occupational Safety and Health; NIOSH. (2020). Noise and Hearing Loss Prevention. Retrieved on 2 May 2020, from https://www.cdc.gov/niosh/topics/noise/default.html
National Statistical Office. (2016). Number of the formal and informal employment by problems in the work environment. The Informal Employment Survey 2016, Ministry of Digital Economy and Society. (in Thai)
National Statistical Office. (2018). Number of the formal and informal employment by problems in the work environment. The Informal Employment Survey 2018, Ministry of Digital Economy and Society. (in Thai)
National Statistical Office. (2019). Number of the formal and informal employment by problems in the work environment. The Informal Employment survey 2019, Ministry of Digital Economy and Society. (in Thai)
Occupational Disease and Environment Association of Thailand and the Group of Occupational Medicine and Environmental Medicine. (2015). Guideline for Audiometry Screening and Interpretation in Occupational Health. Bangkok: Nopparat Rajathanee Hospital, Department of Medical Services, Ministry of Public Health. (in Thai)
Office of Strategy Management, Department of Industrial Promotion. (2012). Project to prepare and construct a network of industrial production cooperation to support the ASEAN Economic Community (AEC). Bangkok; Ministry of Industry. (in Thai)
Riaz, A. (2016). Top Management Support and Project Performance: An Empirical Study of Public Sector Projects. SSRN Electronic Journal. 10.2139/ssrn.3044377.
Sinjaru, T. (2014). Research and statistical data analysis with SPSS and AMOS. Nonthaburi: SR Printing Mass Products. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร