กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
Strategies for Developing Internationalization of Rajamangala Univesity of Technology
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, ความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา, การพัฒนาความเป็นนานาชาติบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) สร้างกลยุทธ์ความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ 3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ผลการศึกษาพบว่า 1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์และทิศทางการพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยบนพื้นฐานศักยภาพของพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก มีการจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลด้วยการยกระดับคุณภาพและสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากร การพัฒนากิจกรรมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ให้มากขึ้น และแสวงหานักศึกษาจากกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนามและประเทศอื่นในหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น เน้นการจัดทำหลักสูตรการจัดการความขัดแย้งโดยสันติและส่งเสริมสนับสนุนสันติศึกษา 2) การศึกษานานาชาติมีองค์ประกอบทั้งสิ้น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร หลักสูตร และค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (2) บุคลากรชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีคุณภาพและความเชี่ยวชาญ 3) ระบบความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย (4) กิจกรรมการบริการสังคมของมหาวิทยาลัย และองค์ประกอบที่ 5 การประกันคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานสากล 3)กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีทั้งหมด 8 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารในสังคมดิจิทัล (2) หลักสูตรการเรียนการสอนนานาชาติที่มีมาตรฐานสากล (3)การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุค 4.0 (4) ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรมีความเหมาะสม (5) บรรยากาศการทำงานมีความปลอดภัย (6) การบริการสังคม (7) เป็นผู้นำด้านคุณภาพการศึกษา และ (8) มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
References
Abd, H. W., Zaimah R. and Izzurazlia I. (2012). Faktor Tarikan pelajar siswaza hantarabangsake universitit penyelidikan di Malaysia: GEOGRAFIA Online TM. Malaysia Journal of Society and Space, 8(6). 32-41. [Online]. Retrieved October 2, 2018, from http.//www.ukm.my/geografia/images/upload/4.geografia-sep%2012abd%20hair-si-ppspped%kat1.pdf.
Afonso, J. D. (1990). The International Dimension in American Higher Education. Text; Dissertation-Reproduction (electronic) Publisher : The University of Arizona.
Delgado-Márquez, Blanca L., Bondar, Y., & Delgado-Márquez, L. (2012). Higher education in a global context: Drivers of top-universities’ reputation. Problems of Education in the 21st Century 40: 17-25. [Online]. Retrieved September 26, 2018, from http://ehis.ebscohost.com/eds/pdfviewer/pdfviewer?sid=c160ca59-eff5-459b-af5f-811ace11cecb@sessionmgr104&vid=2&hid=4
Kotbuntao, S. (2010). Educational Philosophy for Educational Administrators. Bangkok: Panyachon. (in Thai).
Kuhlman. (1992). Declares Quarterly Dividend. PR Newswire.
Marginson, S. (2004). Markets in Higher Education: National and Global Competition. Monash University. Australia. [Online]. Retrieved October 12, 2018, from http://scholar.google.com/scholar.
Michael E. Porter. (2008). The Five Competitive Forces that Shape Strategy. Harvard Business Review.
Morrissey, P. (2012). Higher education and the imperative to build reputations, Asian Education and Development Studies. Vol. 1 No. 2, pp. 112 - 123. Retrieved October 12, 2018, from https://doi.org/10.1108/20463161211240098
Office of the Higher Education Commission. (2015). The 2014 Internal Quality Assurance Manual for Higher Education. Bangkok. (in Thai).
Office of the Higher Education Commission. (2018). Long-Term Higher Education Plan for 20 Years during 2018 – 2038). Office of the Higher Education Commission. (in Thai)
Office of the National Education Commission. (2002). National Education Act of B.E. 2542, and the Prof. Amendment (No. 2) B.E. 2545. Office of the Prime Minister. (in Thai)
Ratchakitcha. (2012). Ministerial Regulations: Determine the Type and Safety System of Buildings Used for Operating a Service Place. B.E. 2555 (2012). Cabinet and Royal Gazette Publishing Officer. (in Thai)
Santi Chaichana. (2007). The Internal Quality Assurance in the Small Schools under the office of Khon Kaen Educational Service Area 4. An Independent Study Report for the Master of Educational Administration. Faculty of Education. Khon Kaen University. (in Thai)
Saman Pechnava. (2006).Educational Quality Assurance at Basic Education Schools under the Office of Khon Kaen Educational Service Area 5. Master of Education Thesis in Educational Administration. Graduate School, Khon Kaen University. (in Thai)
Siriyupa Roongrerngsuke. (2017). The Challenge of HR. National Institute of Development Administration. (in Thai)
Suomi, K. & Jarvinen, R. (2013). Tracing reputation risks in retailing and higher-education services. Journal of Retailing and Consumer Services 20. 207-217. [Online]. Retrieved October 4,2018, from http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0969698912001518 [2018,October 4].
T. Hill, R. Westbrook. (1997). SWOT analysis: It’s time for a product recall. Long Range Planning.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร