This is an outdated version published on 2021-08-01. Read the most recent version.

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้แต่ง

  • ภทรวรรณ อักษร กองแผนงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การบริหารงบประมาณ / ผลสัมฤทธิ์ / ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินสภาพแวดล้อมของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (2) ศึกษระดับผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณและ (4) เพื่อเสนอกลยุทธ์ในการปรับปรุงระบบการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

             รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ประชากรและตัวอย่าง คือ 1) ศึกษาเชิงปริมาณ จากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านแผนและงบประมาณของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 305 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 173 คน และ 2) ศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอนและ
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการพรรณนาวิเคราะห์

             ผลงานวิจัย พบว่า (1) สภาพแวดล้อมของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ มีจุดแข็ง คือ
เป็นระบบที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จในระดับผลผลิต และผลลัพธ์ที่เป็นเป้าหมายหลักขององค์การ จุดอ่อน คือ การถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ระเบียบด้านการบริหารงบประมาณ โอกาส คือ การเปลี่ยนกระทรวง การมีระบบ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านแผนและงบประมาณใหม่ อุปสรรค คือ การเปลี่ยนผู้บริหาร การเปลี่ยนนโยบาย เกิดความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน (2) ระดับผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์อยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบด้านงบประมาณ และ ปัจจัยด้านการบริหารภาครัฐแนวใหม่ มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) กลยุทธ์ในการปรับปรุงระบบงบประมาณ ได้แก่ ส่งเสริมการปรับระบบงบประมาณในรูปแบบกองทุนตามภารกิจ การปรับปรุงแก้ไขระเบียบ สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านแผนและงบประมาณ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

 

References

Anantita Intapani. (2007). Evaluation of the Effectiveness of Strategic Performance-Based Budgeting in the Ministry of Finance. (D.D.S. (Public Administration) Ramkhamhaeng University, Bangkok. (in Thai)

Budget Methods Act B.E. 2561. (in Thai)

Bureau of the Budget. (2012). Information system for monitoring and evaluation. Manual of Performance Assessment Rating Tool : PART. Bangkok: Evaluation Bureau. (in Thai)

Cabinet resolutions. Reform plan for public administration system. 11 May 1999. (in Thai)

Manual for evaluating the value of performance in government missions (Revised version 2010). Bangkok: Office of the Prime Minister. (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Board Office of the Prime Minister. (2010). (in Thai)

Prasert Pinpathomrat and faculty. (2006). Development of budgetary management process, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. By the performance-oriented budgeting system according to the national strategy Faculty of Agricultural Technology Research Project Rajamangala University of Technology, Pathum Thani. (in Thai)

Somnuk Phimon Sathien. (2008). Budgetary system according to the provisions of the Constitution of the Kingdom of Thailand 2007. Budget Journal 5 (17). (in Thai)

Thipawadee Meksawan. (2002). Self-study series. Administrative courses A new way of managing public sector, the second set of subjects, the management focused on results. Bangkok: Arthit Products Group Co., Ltd. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01

Versions