แนวทางการพัฒนาสื่อการศึกษาทางไกลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี: การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์
คำสำคัญ:
การศึกษาทางไกล, การพัฒนาสื่อการศึกษา, การประเมินความต้องการจำเป็นบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้านสื่อการศึกษาทางไกล 2) วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นด้านสื่อการศึกษาทางไกล และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาด้านสื่อการศึกษาสำหรับนักศึกษาในระบบการเรียนการสอนทางไกลกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่เข้ารับการอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพในภาคต้นปีการศึกษา 2561 จำนวน 586 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และค่าความถี่จากการกำหนดน้ำหนักคะแนนรายคู่
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้านสื่อการศึกษาทางไกลในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.12 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การศึกษาความต้องการมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (0.16) รองลงมาคือ การออกแบบการเรียนการสอนทางไกล (0.14) และการถ่ายทอดการเรียนการสอนทางไกล (0.12) ตามลำดับ (2) ผลการตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุความต้องการด้านสื่อการศึกษาทางไกลพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 47.80, df = 34, p = 0.058, GFI = 0.987, AGFI = 0.970, RMR = 0.011) และ 3) แนวทางการพัฒนาด้านสื่อการศึกษาสำหรับนักศึกษาในระบบการเรียนการสอนทางไกลพบว่า (1)การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และการประเมินผลให้มีความหลากหลาย (2)การเพิ่มช่องทางการเรียนการสอนให้หลากหลาย ทั้งรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ รูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ และ (3)การตั้งกลุ่มเฉพาะของนักศึกษาในหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตรสามารถติดต่อสื่อสารได้ง่าย และสะดวก ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ
References
Boonwatthanakul, C. (2012). The trend of distance education instruction model for Sukhothai Thammathirat Open University. STOU education journal. 5(2), 63-77. (in Thai).
Jaiyen, S. (2002). Variables related to self-directed learning abilities of student in distance education school in Khet Bangkhen, Bangkok. Master of Education degree in Educational psychology, Srinakharinwirot University, Bangkok. (in Thai).
Nadprasert, P.,& Chaiyabutr, W. (2016). In-depth analysis on e-learning process of STOU graduate students. Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi. (in Thai).
Srisa-an, W. (1986). Distance education. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
Srisa-an, W, Sriprasart, P., & Kamchaturas, P. (1991). Distance education. (Unit 1). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
Sukhothai Thammathirat Open University. (2019). Manual of Sukhothai Thammathirat Open University for academic year 2019. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
Sungsri, S. (2006). Distance education. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
Topothai, V. (2017). Educational technology and communications. (Unit 6). 2nd rev. ed. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
Wiratchai, N. (1999). LISREL Model: Analytic Statistics for Research. 3rd ed. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).
Withayagiat, S., Sriprasart, P., Thanthasuraseth, N., & Uratchamas, A. (2001). Higher distance education in Thailand. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
Wongwanich, S. (2015). Needs assessment research. 3rd ed. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร