ปัจจัยที่มีผลต่อนวัตกรรมและผลิตภาพการผลิตรวมของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศไทย

ปัจจัยที่มีผลต่อนวัตกรรมและผลิตภาพการผลิตรวมของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ ชนากานต์กร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • มนูญ โต๊ะยามา
  • วสุ สุวรรณวิหค

คำสำคัญ:

อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์, นวัตกรรมกระบวนการ, นวัตกรรมผลิตภัณฑ์, ผลิตภาพการผลิตรวม

บทคัดย่อ

                  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพการผลิตรวม 2) ปัจจัยภายในสถานประกอบการที่ส่งผลต่อนวัตกรรมและผลิตภาพการผลิตรวม และ 3) ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนวัตกรรมต่อการเพิ่มผลิตภาพการผลิตรวมของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศไทย การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถามตัวอย่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์  จำนวน 225 ราย โดยการสุ่มแบบแยกกลุ่ม และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรวบรวมจากผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ จำนวน 19 ราย โดยการสุ่มแบบเจาะจง และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ได้มีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การเปรียบเทียบรายคู่ และเชิงปริมาณโดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ

                  ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพการผลิตรวม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01  ได้แก่ ขนาดกิจการ ระดับการใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ มูลค่าการลงทุน และผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งมีค่า Adjusted R2 = 0.755 โดยระดับการใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ และมูลค่าการลงทุนมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกับผลิตภาพการผลิตรวม กิจการขนาดใหญ่ และผลิตภัณฑ์หลักที่ใช้กระดาษแข็ง มีผลิตภาพการผลิตรวมสูงกว่ากิจการขนาดเล็ก และผลิตภัณฑ์หลักที่ใช้กระดาษลูกฟูก ตามลำดับ 2) ผลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ชี้ว่า นโยบาย กลยุทธ์ การบริหารจัดการ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริหารระดับสูง และการมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับสูงในกิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยี มีส่วนสำคัญในการสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมและผลิตภาพการผลิต 3) ปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรม ได้แก่ ต้นทุนการดำเนินงานสูง และขาดแคลนนักวิจัยที่มีแนวคิดเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ อุปสรรค ได้แก่ การพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และการถ่ายทอดความรู้ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงควรมีความชัดเจนของนโยบายและกลยุทธ์ การสร้างระบบบริหารจัดการภายในองค์กรที่มีความยืดหยุ่น การสื่อสารให้คนในองค์กรรับรู้เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการปฏิบัติที่มีเป้าหมายเดียวกัน และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมีการร่วมมือระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อสร้างประโยชน์ทางด้านนวัตกรรมร่วมกัน

References

Al-Battaineh, M. (2018). Effect of Innovation Strategies on the Functional Performance of Smes Organizations in (Hassan Industrial City). International Journal of Business and Management Invention (IJBMI), ISSN (Online), 2319-8028.

Arunyadech, N. (2008). Economic Factors on R&D Innovation and Productivity in Thailand. (Master of Economics), Thammasat University, (in Thai).

Beyene, K. T., Shi, C. S., & Wu, W. W. (2016). The impact of innovation strategy on organizational learning and innovation performance: Do firm size and ownership type make a difference? South African Journal of Industrial Engineering, 27(1), 125-136.

Bryson, J., & George, B. (2020). Strategic management in public administration Oxford Research Encyclopedia of Politics.

Carvalho, L., & Avellar, A. P. M. d. (2017). Innovation and productivity: empirical evidence for Brazilian industrial enterprises. Revista de Administração (São Paulo), 52(2), 134-147.

Cronbach, L. J. (1949). Essentials of psychological testing (1ª-5ª edición): New York: Harper.

Gliem, J. A., & Gliem, R. R. (2003). Calculating, interpreting, and reporting Cronbach’s alpha reliability coefficient for Likert-type scales.

Hall, B. H., Lotti, F., & Mairesse, J. (2009). Innovation and productivity in SMEs: empirical evidence for Italy. Small Business Economics, Economics(1), 13-33.

Johnjun, A. (2011). Total Factor Productivity (TFP) of Food Industry in Thailand. (Master of Science), Kasetsart University, (in Thai).

Kaplinsky, R. (1995). Technique and system: The spread of Japanese management techniques to developing countries. World Development, 23(1), 57-71.

Ngugi, K., & Karina, B. (2013). Effect of innovation strategy on performance of commercial banks in Kenya. International Journal of Social Sciences and Entrepreneurship, 1(3), 158-170.

Nossal, K., & Lim, K. (2011). Innovation and productivity in the Australian grains industry (192119295X). Retrieved from Australian Bureau of Agricultural and Resource Economics and Sciences:

Nyeadi, J. D., Kunbuor, V. K., & Ganaa, E. D. (2018). Innovation and Firm Productivity: Empirical Evidence from Ghana. Acta Universitatis Danubius. Œconomica, 14(5).

Tanyaprasert, C. (2009). The Relationship between Productivity Growth and Types of Innovation: Evidence from Thailand Manufacturing Firms. (Master of Science Program in Technology Management.), Thammasat University, (in Thai).

Ting, H.-F., Wang, H.-B., & Wang, D.-S. (2012). The moderating role of environmental dynamism on the influence of innovation strategy and firm performance. International Journal of innovation, management and technology, 3(5), 517.

Tiralap, A. (1990). The Economics of the Process of Technological Change of the Firm: The Case of the Electronics Industry in Thailand. unpublished D. Phil. thesis, Science Policy Research Unit, University of Sussex, Brighton, UK.

Toyama, M. (2000). Technology and economic development: a case study of technological capability building in selected food manufacturing sectors in Thailand. (Doctor of Business Administration), University of Strathclyde.

Van Auken, H., Madrid-Guijarro, A., & Garcia-Perez-de-Lema, D. (2008). Innovation and performance in Spanish manufacturing SMEs. International Journal of Entrepreneurship and Innovation Management, 8(1), 36-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01 — Updated on 2022-05-02

Versions