ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วรรณี ชลนภาสถิตย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย รามคำแหง
  • อรุณี นรินทรกุล ณ อยุธยา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย รามคำแหง
  • พรรณพิมล ก้านกนก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย รามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยของความสำเร็จ, ปริญญาเอก, การศึกษา, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศไทย และเพื่อศึกษาการวางแผนชีวิตของผู้ศึกษาระดับปริญญาเอก ประชากรที่ศึกษา คือ ดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2558-2562 จากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่มีระบบการสอนแบบปิด แบบเปิด และแบบตลาดวิชา จำนวน 17 คน ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานวิจัย การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคําถามอยู่ระหว่าง 0.66-1.00 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศไทย ประกอบด้วย 3 อย่าง คือ 1) เงิน ที่จะต้องนำมาใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียน 2) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เป็นตัวผลักดันให้นักศึกษาทำงานได้เสร็จทันเวลาและจบเร็วขึ้น การมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่คุยกันรู้เรื่องและเข้าใจนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเชื่อมั่นว่าจะสามารถเรียนจบปริญญาเอกได้  3) การวางแผนชีวิตของนักศึกษาปริญญาเอก เกี่ยวของกับตัวแปรที่สำคัญ 3 ด้าน คือ การวางแผนด้านการเงิน การวางแผนด้านการเรียน และการวางแผนด้านอาชีพ นอกจากนี้ยังพบว่า หลักหรือวิธีการเรียนให้ประสบความสำเร็จในระดับปริญญาเอก ผู้ศึกษาจะต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีวินัย อดทน มีการวางแผนการเรียน จัดสรรเวลาในการเรียนและอ่านหนังสือ ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยไปใช้วางแผนกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

References

Butsri, P. (2554). Alternative : Motivation to Study in Graduate Programs of Graduate Students at Nakhon Phanom University. Thesis Department of Public Administration.

Chantawaniche, S. (2539). Qualitative research methods. 6th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Economic Intelligence Center (EIC), Siam Commercial Bank “The higher the end, the higher the salary. The more often change jobs Salary even more?.” Retrieved September15,from : https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/education-salary/2563.

Harbison, F., & Myers, C.A. (1964). Education, Manpower and Economic Growth: Strategies of Human Resource Development. New York: McGraw-Hill Book Co.

Janha, P., & Prabaripai, A. (2558). Factors Affecting the Needs for Master’s Degree Studies at Kasetsart University. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 8(1), 290-318.

Office of the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2562). Higher Education Statistics year 2561. Bangkok: Higher Education Information Center, Office of the Director.

Sasai, L. (2550). Factors Effecting Completion of Bachelor’s Degree Programs of Sukhothai Thammatirat Open University Students. Master thesis, Educational Measurement. Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.

Steinmmayr, R., & Spinath, B. (2009). The Importance of Motivation as a Predictor of School Achievement. Learning and Indifferences, 19(1), 80-90.

Thada, M. (2547). Psychosocial factors related to diligent study and sports practice behavior of sports school students in the Northeast Under the Department of Physical Education. Journal of Psycho-Behavior Science: Thai Behavioral System. 1(2), p. 37-62.

Waichalad, U., & To-im, J. (2559). Influencing Factors for Post-graduation Study Decision Making of Graduate Students in Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University.

Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage. 10(2), p. 165-177.

“Why study a Ph.D.?.” Retrieved: September 20, 2563., from: http://thaisky.com/reasonsto-do-phd/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-26