การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประเมินคุณค่าสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในระบบการศึกษาทางไกล
คำสำคัญ:
บทเรียนออนไลน์, การประเมินคุณค่าสารสนเทศ, ระบบการศึกษาทางไกลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประเมินคุณค่าสารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในระบบการศึกษาทางไกล 2) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประเมินคุณค่าสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในระบบการศึกษาทางไกลที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างอย่าง คือ นักศึกษาบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ ที่ศึกษาชุดวิชา 91723 การวิจัยและสถิติเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประเมินคุณค่าสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในระบบการศึกษาทางไกล 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประเมินคุณค่าสารสนเทศ สำหรับบัณฑิตศึกษา ในระบบการศึกษาทางไกล เป็นแบบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 12 สมรรถนะการเรียนรู้ โดยแบ่งออกเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน 12 ข้อและแบบทดสอบหลังเรียน 12 ข้อ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประเมินคุณค่าสารสนเทศ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การเรียนบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประเมินคุณค่าสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในระบบการศึกษาทางไกล พบว่า นักศึกษามีผลการเรียนรู้เฉลี่ยหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนบทเรียนออนไลน์ 3.47 โดยผลการเรียนรู้เฉลี่ยก่อนเรียนอยู่ที่ 6.73 คะแนน และผลการเรียนรู้เฉลี่ยหลังเรียนอยู่ที่ 10.20 คะแนน โดยผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนออนไลน์ของนักศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 2) นักศึกษามีความพึงใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนบทเรียนออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.51 (SD. = 0.34)
References
Ministry of Education. (2563). National Education Development Plan No. 12 B.E. 2560 (2017). Bangkok: Ministry of Education.
Panida, L. (2015). Development of WebQuest Using Collaborative Learning for Information System in Organizationof Higher Education. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 6(1): 1 – 9.
Pongnatee, P., Kasemsunt, P., & Nakhon, L. (2020). The Development of Online Learning Using Problem Base (PHL) on General Applications of Statistics in Hypothesis Testing for Undergraduate Students. Pathumthani University Academic Journal, 12(1), 151-163.
Pornpan, G. (2016). The Development of Web - Based Training Course in Using Library for Undergraduate Students of Kasetsart University Sriracha Compus. Thesis of the Requirements for the Degree Master of Art Program, Burapha University.
Pramote, L. (2563). Information Literacy: 21st Century Learning Skills. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Sukhothai Thammathirat Open University. (2020). Teaching and learning by using innovations in distance education using media and technology. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.
The International Commission on Education for the Twenty-first Century. (1996). Learning: the Treasure Within. Paris: UNESCO Publishing.
Wu, X., Zhu, X., Wu, G., and Ding, W. (2014). Data mining with big data. IEEE Transaction on Knowledge and Data Engineering, 26(1), 97-107.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-05-26 (2)
- 2022-11-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร