การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแนวทางการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของชุมชน เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • อลิษา ดาโอ๊ะ -
  • บุหงา ชัยสุวรรณ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ฐิติรัตน์ เจนศิริรัตนากร นักวิจัยอิสระ
  • มินตรา วิสารทพงศ์

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาดดิจิทัล, เศรษฐกิจชุมชน, ผลิตภัณฑ์ชุมชน

บทคัดย่อ

                  การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ ความต้องการและปัญหาด้านเศรษฐกิจชุมชน ของตำบลวังหมันและตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นที่น่าจดจำ และ 3) พัฒนาทักษะการสื่อสารการตลาดดิจิทัลให้กับคนในชุมชน ตำบลวังหมันและตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

                   การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร สมาชิกในชุมชนตำบลวังหมันและตำบลหนองน้อย เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ กลุ่มเจ้าของผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งสองตำบล โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะต้นน้ำ ทำการศึกษาเพื่อสำรวจข้อมูลบริบทชุมชนและผลิตภัณฑ์ของตำบล นำไปสู่ระยะกลางน้ำ ทำการวางแผนพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ระยะปลายน้ำ ทำการพัฒนาทักษะการสื่อสารการตลาดดิจิทัลให้กับคนในชุมชนสามารถนำสินค้าไปวางจำหน่ายในร้านค้าออนไลน์และเข้าใจการทำการตลาดออนไลน์ได้อย่างแท้จริง

                 ผลศึกษาความต้องการและปัญหาของชุมชนพบว่า ทั้งสองตำบลมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ แต่ยังขาดการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งโครงการฯ ได้ดำเนินการพัฒนาอัตลักษณ์ด้วยส่วนผสมทางการตลาด (4Ps) ให้พร้อมจัดจำหน่าย และพัฒนาทักษะการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ด้วยหลักสูตรการอบรมการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารการตลาดออนไลน์และช่องทางการจัดจำหน่ายทั้ง 7 หลักสูตร นำมาซึ่งการพัฒนาแผนการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เกิดผลลัพธ์การยกระดับเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มโอกาสการสร้างงาน สร้างอาชีพ และมีรายได้เพิ่มขึ้น

References

Aaker, D. (2014). Aaker on branding: 20 principles that drive success. Morgan James Publishing.

Belch, G. E., & Belch, M. A. (2004). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective (6th. ed.) New York: McGraw-Hil l.

Boon-Long, P., Kaewthep, K., & Papasratorn, B. (2016). Socially Engaged Scholarship Concept & Method. Bangkok: Knowledge Network Institute of Thailand. Retrieved from http://www.rdi.rmutsb.ac.th/2011/download/00064.pdf

Department of Industrial Promotion. (2022). Meaning of Products Quality. Retrieve from https://bsc.dip.go.th/th/category/quality-control/quality-meaning-content

Kaewthep, K. (2000). Media for Community Knowledge Codification. Bangkok : Thailand Research Fund.

Kotler, P. (2017). Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital (Jaruwat N., Trans.). Bangkok: Nation Book Publishing.

Navasait, A. (2011). The study of public participation process in community planning : a case of Foremost and Subsinpatana communities (Master’s Thesis). Silpakorn University,Bangkok.

Navavongsathian, A. (2014). Behavior Decision of Consumer in Online Shopping Store in Bangkok Metropolitan. Panyapiwat Journal, 5(2), 134-149.

Poompruk, C., & Erb-im, N. (2021). Marketing Automation: The Business Success Tool for Digital Marketers. Journal of Management Science Review, 23(1), 221-230.

Sarasombat, P. (2022). An Analysis of Thai Provincial Logo and Slogan. Journal of Communication and Management NIDA, 8(1), 1-30.

Tanaspansarrat, P., & Suratsawadee, C. (2015). The Model Development of the Community Products by Participatory Action Research Method Case Study: Household products of Baan Khlong Dua Pattana in Tambon Tha Manao, Amphoe Chai Badan, Lopburi Province. Area Based Development Research Journal, 7(3), 76-89.

Tongkaemkaew, U., & Tongkaemkaew, C. (2009). A Participatory Research Based on Philosophy of Sufficiency Economy on Utilization of Local Plants for Food, Cosmetics, Detergent and Recreation Activities. Faculty of Technology and Community Development,Thaksin University : Phatthalung.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23