ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้แต่ง

  • นันทวัน ศรีภูมิพฤกษ์ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
  • ลักษณา ศิริวรรณ

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์, การสื่อสารยุทธศาสตร์

บทคัดย่อ

         

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  (2)  ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  (3) เสนอแนะกลยุทธ์การสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีด้วยการวิจัยเชิงปริมาณที่เน้นวิธีการสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษา คือ กลุ่มบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 1,647 คน และ ผู้บริหารระดับสูงที่กำกับดูแลและมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับทุกพันธกิจในการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 5 คน  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างบุคลากรด้วยสูตรของทาโร ยามาเน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ  และผู้บริหารระดับสูง 5 คน โดยใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

              ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  (2) ปัจจัยด้านการสื่อสารภายในองค์การ ปัจจัยด้านยุทธศาสตร์และนโยบายภายนอกองค์การ  ปัจจัยด้านผู้นำองค์การมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  โดยรวมสามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้คิดเป็นร้อยละ 74.80  (3) กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือ นำหลักการสื่อสารภายในองค์การมาใช้ในการสื่อสารยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และทั่วถึง ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของประเทศ และการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และเน้นการนำองค์การโดยการโน้มน้าวใจบุคลากรให้ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงมีการส่งเสริมให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ การยอมรับและตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของผู้นำ

 

 

References

Alexander, E. R. (1985). “From Idea to Action : Notes for a Contingency Theory of Policy Implementation Process.” Administration & Society, 16 (4), p. 228

Anderson, J.C. &Narus, J.A. (1990). “A modelof the distributor’s perspective of distributormanufacturer working relationships”. Journal of Marketing, 54(1), 42-58.

Anderson, James E. (1975). Public Policy Making. New York: Hot, Winstone & Rinehart.

Arthur A. Thompson, Alonzo J. Strickland (2001). Making the team. New Jersey: Prentice-Hall.

Barnard, Chester I. (1972). The Functions of the Executive, 22nd printing. London: Oxford University press.

Barnard, Chester I. (1986). The Function of the Excutive .Cambridge: Harvard University press.

Bingham, Julia Elizaberth. (2008). A study of Principals’ and Teachers’ Perceptions of Principals’ Communication Style and the Association with Teachers’ Communication Satisfaction.“Dissertations Abstracts International”. n.p.

Iatisak Setthapinij. (2013). Factors in implementing the policy of the Sub-District Administrative Organization in Nakhon Pathom Province. (Ph.D., Doctorate of Public Administration not published). Sripatum University, Bangkok. (in Thai)

Kanyanat keela. (2013). A study of communication within organizations under the Office of Non-Formal Education Promotion. System and informal education in Amnat Charoen Province. (Independent study, degree, Master of Business Administration not published). Valaya Alongkorn Rajabhat University, Bangkok. (in Thai)

Kidanan Malithong. (2013). Educational Technology and Innovation. (2nd edition).Bangkok:Arun printing. (in Thai)

Kla Thongkhao. (2008). Theory of Public Policy Implementation. (3rd printing). Bangkok:Sukhothai Thammathirat Open University (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). The 20-Year National Strategic Plan(2018-2037) . Retrieved October 15, 2021.From https://sto.go.th/sites/default/files/2019-12/NS_PlanOct2018.pdf. (in Thai)

Office of the Public Sector Development Commission. (2010). Guide to Explanation of Quality Improvement Indicators Public Administration, Fiscal Year 2011. Bangkok:Office of the Public Sector Development Commission (Office of the Civil Service Commission). (in Thai)

Pornthip Bunnipat. (1988). Attitude. Bangkok: Thai Wattana Panich. (in Thai)

Sukhothai Thammathirat Open University. (2019). Report on the results of the reform Sukhothai Thammathirat Open University (April-December 2018). Nonthaburi: Planning Division.(in Thai)

Thanawit Chindapradit. (2018). Guidelines for the development of the bureaucratic system 4.0 section 2 Strategic planning.Bangkok: Office of the Civil Service Commission (in Thai)

The Secretariat of the Education Council.(2020). State of Education in Thailand 2018/2019 Education Reform in the digital age. Bangkok: Prints.(in Thai)

Thiphawan Lorsuwanrat. (2013). Modern Organization. Bangkok: Bunditpatana Institute Management science. (in Thai)

Thiwakorn Nukit. Strategic planning is a technique used in military affairs. The evidence is in the Chinese textbook Pichai War "Sun Wu". Retrieved on August 23, 2018.From http://km.oae.go.th/index.php/strategic1-m/2561-stra1/398-mean (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23