ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • จรินพงษ์ แดงจิ๋ว Sukhothai Thammathirat Open University
  • อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ
  • ส่งเสริม หอมกลิ่น

คำสำคัญ:

ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง, องค์กรดิจิทัล, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรดิจิทัล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล และ 3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัล

              การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรได้แก่ ข้าราชการของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 3,106 คน กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ข้าราชการของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 355 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และ 2) ผู้บริหารและผู้อำนวยการสำนัก เครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

              สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ 1) ระดับความพร้อมด้านดิจิทัลของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่า ระดับความพร้อมของส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในภาพรวม มีความพร้อมระดับ Level 3 Defined (Data-Centric) หมายถึง ลักษณะองค์กรที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูล โดยมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการรูปแบบองค์กรดิจิทัลมากที่สุด และมีความพร้อมด้านศักยภาพเจ้าหน้าที่ภาครัฐดิจิทัลน้อยที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมด้านดิจิทัลของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (Y) ในภาพรวม ได้แก่ ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล กฎหมาย และกฎระเบียบ (X4) ปัจจัยด้านโครงสร้างและการทำงาน (X3) และปัจจัยด้านเป้าหมายและศักยภาพองค์กร (X2) ตามลำดับ ดังสมการพยากรณ์  Y = 0.613 + 0.114 X2 + 0.294 X3 + 0.315 X4 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ประสิทธิภาพการทำนายเท่ากับ 75.10 และ 3) แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัล ได้แก่ การมีนโยบาย กฎระเบียบ คู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนรองรับการทำงานด้านดิจิทัล การปรับปรุงกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการทำงานด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมด้านดิจิทัลให้ครอบคลุมกับเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง ทุกระดับอย่างเป็นระบบ และการสรรหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

References

Digital Government Maturity Domain and Area: MDA. (2019). Bangkok. Office of the Civil Service Commission or OCSC. (in Thai)

Digital Government Maturity Model. (2020). Bangkok. Digital Government Development Agency (Public Organization) or DGA. (in Thai)

Javis Ebua Otia and Enrico Bracci. (2022). Digital Transformation and The Public Sector Auditing: The SAI’s Perspective. Financial Accountability & Management, 38(2), 252-280.

Kamol Sutprasoet. (1997). Operation research for the participation of workers. (2nd ed.) Bangkok: Office of Human Resource Development Project Coordination Ministry of Education. (in Thai)

Kingporn Thongbai. (2021). Change Management and Management Innovation. (1st ed.) Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Press. (in Thai)

Napatthanan Sakchareonkul. (2019). The Preparation of Thai Public Officials for Digital Government, (Unpublished Thesis for the Degree of Master). Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)

Pachara Arayakul. (2021). 6 Steps for driven Organization to Digital Transformation. Money and Banking Thailand. Retrieved from https://moneyandbanking.co.th/article/news/bluebik-digital-transformation-170864 (in Thai)

Pongwat Bunsanongchokying. (2020). Digital Skill Development to Support the Change to Digital Organization of Personnel of Secretarial Division, Medical Service Department, Bangkok Metropolitan Administration, (Unpublished Independent Study for the Degree of Master). Ramkhamhaeng University, Bangkok. (in Thai)

Rob van der Meulen. (2017). 5 Level of Digital Government Maturity. Information Research, Gartner. Retrieved from https://www.gartner.com/smarterwithgartner/5-levels-of-digital-government-maturity

Somsak Wanitchayaporn and Nissara Jaisue. (2018). Driving Digital Organization for Thailand 4.0 Development. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 38(3), 78 – 91. (in Thai)

Watcharapoj Sapsanguanboon and Wethaya Faijaidee. (2020). Digital Transformation for Government Agencies to Enhance Thailand’s Competitiveness. Modern Management Journal, 18(1), 15-22 (in Thai)

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23