แนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจด้านสินเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, การเงินอิสลาม, ภาระภาษีอากรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเงินอิสลามที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อ (3) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจด้านสินเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร (4) ศึกษาถึงปัญหาการให้สินเชื่อภายใต้หลักศาสนาอิสลามของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ (5) แนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ บทความทางวิชาการ งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะในการปรับปรุงพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545
ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดทฤษฎีด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินได้มีการกำหนดไว้โดยชัดเจนในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เป็นการให้สินเชื่อโดยการให้กู้ยืมเงินหรือธุรกรรมที่ได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และไม่ได้กำหนดการให้สินเชื่อภายใต้หลักการเงินอิสลามที่ห้ามให้สินเชื่อที่ผูกพันกับดอกเบี้ยไว้ (2) การให้สินเชื่อภายใต้หลักการเงินอิสลามได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยคำปรึกษาและคำแนะนำของคณะที่ปรึกษา (ด้านศาสนา) (3) การส่งเสริมอุตสาหกรรมการเงินอิสลามในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร มีการพัฒนาระบบการเงินภายในประเทศโดยการพัฒนาโครงสร้างและกฎหมายเพื่อรองรับระบบการเงินอิสลามให้มีความเท่าเทียมกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับการเงินอิสลามเป็นการทั่วไป (4) การให้สินเชื่อภายใต้หลักการเงินอิสลามจะมีความซับซ้อนและยุ่งยากกว่าซึ่งทำให้เกิดภาระภาษีอากรและค่าธรรมเนียมมากกว่าการให้กู้ยืมเงินของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป (5) ควรมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ในประเด็นถ้อยคำ คำนิยาม และกำหนดแนวทางในการผ่อนปรนและยกเว้นภาระภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมให้ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
References
Atthapol, A. (2013). The Study and Drafting Bill on Islamic Financial Institution Business in Thailand.Research, Chulalongkorn University.
Banjong, B. (2003). Grand Opening Islamic Bank of Thailand. Bangkok; Islamic Bank of Thailand.
Bank of Thailand. (2022). Ad Hoc Financial Institutions Governance (SFIs). Retrieved from https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/PruReg_HB/Pages/SFIs.aspx
Bank of Thailand. (2022). Malaysia. Retrieved from https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/
Highlights/ASEANCommunity/FISystem/Documents/malaysia.pdf
Bank of Thailand. (2022). Singapore. Retrieved from https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/
Highlights/ASEANCommunity/FISystem/Documents/singapore.pdf
Centre for Development Policy. (2010). The study of legal improvement for Islamic banking development in Thailand. Research, Chulalongkorn University.
Chanin, P. (2007). Comprehensive Financial Institution Credit Management. Bangkok; Aksorn Sophon.
Chulanee, T. (2019). Malaysia and Global Islamic Financial Hub. Journal of Social Science Srinakharinwirot University. 22(2).
Edbiz Consulting. (2010). Legal & Regulatory Issues in Islamic Finance from a UK Perspective.Global Islamic Finance Report (GIFR 2010). 206-218. Retrieved from http://gifr.net/gifr2010/contents/ch_21.pdf
Islamic Bank of Thailand. (2020). Annual Report 2020. Bangkok; Islamic Bank of Thailand.
Islamic Bank of Thailand. (2021). Annual Report 2021. Bangkok; Islamic Bank of Thailand.
Islamic Bank of Thailand. Islamic Banking Operation. Bangkok; Shariah Department.
John Dewar, Munib Hussain. (2021). The Islamic Finance and Markets Law Review: United Kingdom. Retrieved from https://thelawreviews.co.uk/title/the-islamic-finance-andmarkets-law-review/united-kingdom
Kanjana, B. (2015). Comparing the Performance Standards of Islamic Fnancial Institutions of Thailand and Malaysia. Suthiparithat Journal, 29(92); 52-64.
Ledy Mahara Ginting, Nafisah Ruhana, Nur Haziyah Haji Abdul Halim, Salsabilla Terra Finieli. (2019).Legal and Regulatory Framework of Islamic Banking and Finance: A Study in Singapore.International Journal of Management and Applied Research. 6(4). Retrieved from
Michael Ainley, Ali Mashayekhi, Robert Hicks, Arshadur Rahman, Ali Ravalia. (2007). Islamic Finance in the UK: Regulation and Challenges. Retrieved from https://www.isfin.net/sites/isfin.com/files/islamic_finance_in_the_uk.pdf
Monetary Authority of Singapore. (2022). Guidelines on the application of banking regulation to Islamic banking. Retrieved from https://www.mas.gov.sg/-/media/MAS-Media-Library/regulation/guidelines/BD/guidelines-on-application-of-banking-regulations-to-islamicbanking/Guidelines-on-the-Application-of-Banking-Regulations-to-Islamic-Banking.pdf
Poonpa, M. (2012) Legal Problem Regarding Musharakah Contracts in Accordance with Islamic Principle for the Purpose of financing under Thai Law. An Individual Research Submitted in Partial Fulfillment, Master of Law, Chulalongkorn University.
Rodney Gerard D’Cruz, Murni Zuyati Zulkifli Aziz, Adnan Sundra & Low. (2021). The Islamic Finance and Markets Law Review: Malaysia. Retrieved from https://thelawreviews.co.uk/title/the-islamic-finance-and-markets-law-review/malaysia
Surapong, S. (2003). Islamic Financial Service Operations in Thailand: A Case Study on Islamic Bank of Thailand. Thesis, Master of Law, Ramkhamheang University.
Zulkifli Hasan, PhD. Regulatory Framework of Shariah Governance. Retrieved from https://zulkiflihasan.files.wordpress.com/2008/06/week-viii-regulatory-framework-of-shariah-governance3.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-05-26 (2)
- 2023-03-23 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร