กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล, พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า, แอพพลิเคชั่นช้อปปี้บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลกับพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ และเพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลในการเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชากรอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 414 ราย โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และรูปแบบคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มผู้ที่เคยใช้งานแอพพลิเคชั่นช้อปปี้มากกว่า 1 ครั้ง โดยชำระเงินในรูปแบบ Shopee pay My Spaylater และบัตรเครดิต จำนวน 10 รายเป็นเหตุให้ผู้วิจัยสนใจศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของแอปพลิเคชันนี้ อีกทั้งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้เป็นอย่างดีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ การวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์และค่าการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1. ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งผลการตรวจสอบ พบว่าตัวแปรทั้ง 2 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ = 0.82 และค่า Sig. = 0.00 ดังนั้นแสดงว่ากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้มีความสัมพันธ์ในระดับสูง 2. ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลมีความสัมพันธ์ในการเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ ซึ่งผลการตรวจสอบ พบว่าตัวแปรทั้ง 2 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ โดยค่า Sig < 0.05 และค่า Sig. = 0.000
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าตามบุคคลหรือกลุ่มคนในองค์กรที่มีชื่อเสียง และความจำเป็นและคุ้มค่าในสินค้าและบริการจะสร้างความน่าเชื่อถือในการตัดสินใจซื้อต่อผู้บริโภค
References
Balakrishnan, B. K, Dahnil, M. I, & Wong, J. Y. (2014). The impact of social media marketing medium toward purchaselntention and brand loyalty among generation Y. Social and Behavioral Sciences, 148, 177-185.
Bughin, J. (2015). Brand success in an era of digital Darwinism. February: Mckinsey Quarterly. Business Horizons, 55, 261-271.
Chatayaporn Samerjai and Mattaya Sammi. (2002). Consumer Behavior. Bangkok : Expernet.
Civil registration demographic statistics. (2023). The number of people throughout the kingdom.According to the civil registration evidence as of February 28, 2023. Retrieved March 13, 2023., from https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData.
Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and Conducting Mixed Methods Research (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE, 181-186.
Electronic Transactions Development Agency. (2018). Report on Internet User Behavior Survey in Thailand 2017. Bangkok: Ministry of Information and Communication Technology.
Jittima Jaruwan and Orakanya Kositanon. (2014). Behaviors and Important Factors from Marketing Communications on Consumer Product Purchase from Social Media Marketing Communications. Master’s thesis, Nakhon Sawan Rajabhat University. (in Thai)
Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, Journal of Vocational Behavior, 74, 181-189.
Morville, Peter (2018). Planning for Everything: The Design of Paths and Goals. Semantic Studios. American Public Health Research Association, 105(7), 1446-1452.
Nattapat Wongthongthong. (2014). Content Marketing tells you to click and turn your brand to be famous. Bangkok : International Edutainment.
Sareeporn Phokanan. (2017). The Influence of Brand Image, Trust and Satisfaction on Customer Loyalty of Lazada in Bangkok. Master’s Thesis, Independent Study, Graduate School,Bangkok University.
Siriwan Sereerat. (1995). Marketing management in the new era. Bangkok: Duangkamolsamai.
Suradet Sumethapiwat (2019). Sales Promotion Strategies Aimed at Consumers in the Digital Marketing Era, Santapol College Journal, 5(1), 172-177.
WP. (2021). Exposing the battlefield “E-Commerce”, the competition is boiling over 7.5 billion,“Shopee-LAZADA” runs the last few!. Retrieved February 17, 2023., from https://www.brandbuffet.in.th/2021/08/thailand-and-asean-e-commerce-landscape-kkp-research/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร