ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในกิจการก่อสร้าง
คำสำคัญ:
ความรับผิดทางอาญา, นิติบุคคล, กิจการก่อสร้างบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในกิจการก่อสร้างทั้งของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (3) วิเคราะห์ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในกิจการก่อสร้าง และ (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในกิจการก่อสร้าง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากตัวบทกฎหมาย ตำรา เอกสารวิชาการต่าง ๆ เช่น วารสาร บทความ รายงานการวิจัย และคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า (1) จากแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลพบว่านิติบุคคลไม่สามารถมีความรับผิดทางอาญาบางประเภทได้โดยตรง เพราะนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น แต่รับผิดในโทษบางประเภทได้ เช่น ค่าปรับ (2) ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลเกี่ยวกับความปลอดภัยในกิจการก่อสร้างทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติอื่นๆ กำหนดความผิดและกำหนดโทษไว้ อย่างไรก็ดี นิติบุคคลที่กระทำผิดจะถูกลงโทษทางอาญาได้เพียงแค่สถานเดียวคือโทษปรับทำนองเดียวกันกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แต่จะแตกต่างกันที่ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายสำหรับการลงโทษปรับนิติบุคคลที่กระทำความผิดซ้ำ (3) จากการวิเคราะห์ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในกิจการก่อสร้าง พบว่า มีเพียงบทลงโทษปรับสถานเดียวในความผิดแต่ละครั้ง ซึ่งยังไม่สอดคล้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นประกอบกับสถานะทางเศรษฐกิจ หรือการมีทุนสูงของนิติบุคคล ทำให้ไม่เข็ดหลาบอาจกลับมากระทำความผิดซ้ำได้ (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในกิจการก่อสร้างโดยเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เกี่ยวกับการลงโทษปรับนิติบุคคลที่กระทำความผิดซ้ำ
References
Banyat Suchiva. Criminal Liability of Juristic Persons.B.Pandit.33,1(1976)1-6.
Boonliang Wongsamphan. Criminal liability of juristic persons: A comparative study according to Lao-Thai law. (Master's thesis). Faculty of Law, Thammasat University. 2014.
Cornell Law School. Respondeat Superior. Retrieved on October,25.2523 from https://www.law.cornell.edu/wex/respondeat_superior.
Disorn Likhitwitthayawut. Criminal liability of juristic persons: Comparative study of cases of crimes against humanity specifically related to Thailand. (Master of Laws Thesis). Faculty of Law, Thammasat University. 2017.
Global Legal Group. Business Crime Laws and Regulations Japan 2024, https://iclg.com/practice-areas/business-crime-laws-and-regulations/japan.
H.K. Helen Sohn, partner, Bussiness ethics and anti-corruption Laws : South Korea, https://www.nortonrosefulbright.com/en/knowledge/publications/23ccb8e5/business-ethics-and-anti-corruption-laws-south-korea#section7
Jacqueline Martin and Tony Storey.Unlocking Criminal Law. 2ndEdition. London : Hodder Education, 2007.
Jitti Tingsapat. Explanation of the Civil and Commercial Code regarding Persons. 7th printing. Bangkok: Thammasat University Press. 1987.
Kittima Kaewnara. Principle of proportionality and appropriate punishment for offenders in narcotic cases : A study of the amphetamine case. (Master's thesis). Faculty of Law, Dhurakij Pundit University. 2016.
Kulchat Areeratpitak. Problems and obstacles for enforcing the Occupational Safety and Health Act and working environment 2011. (Master's thesis). Faculty of Law, Sripatum University. 2017
Law kee yang, Vicarious Liability and Agency: Ong Han Ling v AIA and Beyond, https://lawgazette.com.sg/feature/vicarious-liability-and-agency/
Naraset Sawangchaeng. Criminal liability of corporate executives: Study of the provisions of Thai law. (Master's Thesis). Faculty of Law, Thammasat University. 2013.
Nikhom Chotiphan and Siriphong Sopha. Legal measures regarding safety, occupational health, and working environment in the industrial sector. Academic journal. Suvarnabhumi Institute of Technology.6,1(2020) 550-573.
Research and Consulting Center Faculty of Law Thammasat University. Complete research report.Office of the Special Prosecutor, Criminal Law Institute Department, Academic Office, Office of the Attorney General. :Thammasat University Printing House.2015.
Sophon Rattanakorn and Krirk Vanikkul. Evolution in legal principles regarding actions outside the scope of the objectives of juristic persons. Bangkok: Niti Bannakan Publishing House. 1989
Suchart Thammapitakkul. Theory of legal entity status and criminal liability. Bangkok: College of Justice. Ministry of Justice.1998.
Surasak Liksitwattanakul. Criminal liability of juristic persons: a comparative legal study especially relevant to Thailand. Bangkok: Thammasat University Press. 2010.
Sutheera Upathathankura. Liability of representatives of juristic persons and the decision of the Constitutional Court according to human rights principles. Rule of Law for Democracy Course College of the Constitutional Court Office of the Constitutional Court, Bangkok
Thaweekiat Meenakanit. Reference version of the criminal code. 43rd printing. Bangkok: Winyuchon Publishing House.2020.
U.S. Department of Labor. The Occupational Safety and Health Act of 1970. https://www.osha.gov/laws-regs/oshact/completeoshact
United Nations Office on Drugs and Crime. United Nations Convention Against Corruption . https://www.unodc.org/documents/brussels/UN_Convention_Against_Corruption.pdf
Wayne R. LaFave.Criminal Law. 4th Edition. St.Paul, Minn: Thomson/West..2003.
Work Safety Center, Area 9, Ministry of Labor. Handbook for hazard management in construction. Labor Safety Division Department of Labor Protection and Welfare.2021
Wutthinan Pathamawisut. Serious dangers and death statistics from construction accidents. Retrieved 22 January 2023. from https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร