การพิจารณาคดีอาญาลักษณะการประชุมทางจอภาพ ตามร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคแรก

ผู้แต่ง

  • ธารินทร์ จาดพันธ์อินทร์
  • วรรณวิภา เมืองถ้ำ

คำสำคัญ:

การพิจารณาคดีอาญาโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย, การพิจารณาคดีอาญาโดยคู่ความอยู่นอกศาล, การพิจารณาคดีอาญาโดยผ่านจอภาพ , สิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ของจำเลย , กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

บทคัดย่อ

                       บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วิวัฒนาการ และหลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 (2) ศึกษากฎหมายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 กฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ค.ศ. 1966 (ICCPR) และการพิจารณาคดีผ่านจอภาพ ประเทศอเมริกาประเทศอังกฤษ (3) วิเคราะห์ปัญหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 กฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ค.ศ. 1966 (ICCPR) และการพิจารณาคดีผ่านจอภาพ ประเทศอเมริกา และประเทศอังกฤษ  (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172

                       การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ของไทยและกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผ่านจอภาพของประเทศอเมริกา และ ประเทศอังกฤษ บทความ วารสาร เอกสารทางวิชาการ  งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ           

        ผลการศึกษาพบว่า (1)การพิจารณาคดีอาญาของไทยเน้นการคุ้มครองสิทธิจำเลยอย่างเคร่งครัด โดยยึดหลักเกณฑ์สำคัญคือต้องพิจารณาคดีในศาลโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย (2) ยังไม่มีกฎหมายไทยให้มีการพิจารณาคดีอาญาโดยที่คู่ความอยู่นอกศาลได้ แต่พยานอาจอยู่นอกศาลได้ (3) จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าประเทศอเมริกา และประเทศอังกฤษ มีกฎหมายให้การพิจารณาคดีอาญาผ่านจอภาพโดยคู่ความอยู่นอกศาลได้ ในส่วนของประเทศไทยแม้มีการระบาดของโรคโควิดหลายระลอกก็ต้องเลื่อนการพิจารณาคดีออกไป เพราะยังไม่มีการตราหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีการพิจารณาคดีผ่านจอภาพโดยคู่ความอยู่นอกศาลได้ (4) สมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาในกรณีที่เกิดภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความปลอดภัย ให้มีการพิจารณาคดีทางจอภาพโดยคู่ความอยู่นอกศาลได้ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

References

Chanokkan Uantrai. "Principles of investigation and search for truth: a study of the case of preliminary investigation which is a tool in the state's prosecution of cases." Thesis in Law. Dhurakij Pundit University, 2017.

GibertB.Stuckey. Procedure in the Justice System. Ohio: Bill & Howell, 1976.

Inkrat Doljem. “Principles, concepts, theories and management of the criminal justice process.” Rangsit Journal for Law and Society 2. (1) January-April 2020.

Khanung Chachai. Criminal Procedure Law Volume 2. 6th printing. Bangkok: Thammasat University Press. 2008.

Pokpong Srisanit. Human rights in the criminal justice process. Bangkok: Winyuchon Publishing House. 2020.

Patthawee Wanikitpaisarn. “Legal Problems Regarding Preliminary Investigations in Criminal Cases.” Independent Study, Master of Laws Ramkhamhaeng University, 2019.

Ranee Thanompanyarak. “The right to be heard before the defendant: A comparative study of the principles and exceptions between Thai law and the ICCPR).” Journal of the Faculty of Humanities and Social Sciences 12. (3) September-December 2021.

Supoj Surot. Rights of victims and defendants. 3rd printing. Bangkok, Sukhothai Thammathirat Open University. 2018.

Surasak Liksitwattanakul. Criminal Procedure Code, Reference Edition. 2nd edition. Bangkok: Winyuchon Publishing House, 2005.

Watthanaphong Khamdee. " Trial Court and Trial in Absentia ." Thesis. Master of Laws, Dhurakij Pundit University, 2012.

Udom Rathamarit. “Public Trial: Principles and Exceptions under French Criminal Procedure Law.” Journal of Law. 20 (1), March 1990.

Udom Rathamrit. Method of consideration without the defendant in a criminal case. Bangkok: Law Journal Project Thammasat University. 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-24