การส่งเสริมปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรในอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
คำสำคัญ:
การส่งเสริม , ปุ๋ยอินทรีย์ , นาข้าว , เกษตรกรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร 3) สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร 4) การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวในอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ที่ขึ้นทะเบียนจากกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566 จำนวน 145 ราย โดยศึกษาจากเกษตรกรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.56 ปี จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.51 คน ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว เฉลี่ย 1.26 ครั้ง จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พื้นที่ปลูกนาข้าวเฉลี่ย 40.59 ไร่ มีรายได้ทำนาเฉลี่ยต่อไร่ 6,175.66 บาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ 3,687.00 บาท ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 772.83 กิโลกรัม และจำหน่ายผลผลิตราคาเฉลี่ยตันละ 8,251.72 บาท 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรในระดับมากที่สุด ในประเด็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดและมีความรู้ในระดับน้อย 3) สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวเกษตรกรใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักในระยะเตรียมดิน ไถกลบพืชปุ๋ยสดก่อนการทำนา ใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดในระยะข้าวแตกกอ 4) การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวอยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรต้องการได้รับการส่งเสริมแบบกลุ่ม โดยฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และ5) เกษตรมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร ในระดับมาก ประเด็นการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ควรมีการรวมกลุ่มเกษตรกรฝึกอบรมวิธีการผลิต วิธีใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง
References
Anon Tangpitakkrai, and Patcharin Thanaritpaisarn. (2022). “Innovation and technology in rice production. Large plot in Phak Mai Subdistrict Huai Thap Than District Sisaket Province,” Journal of Modern Learning Development Year 7, Issue 3, (Monthly April 2022): 234-249.
Benjamat Ayuprasert. (2014). Compilation of research and statistics subjects. For agricultural promotion and development, Units 6-11. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.
Kasikorn Research Center. (2022). Chemical fertilizer prices hit a record. Affecting main economic crops. Retrieved from https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Fertilizer-FB-26-05-2022-01.aspx. Retrieved on 26 August 2022.
Nanthikarn Singkhaselit, Benjamat Yuprasert and Pharanee Tangwiwat (2017) “Study of needs Promoting the use of organic fertilizers in rice fields in sub-districts outside the city Mueang Surin District Surin Province Sukhothai Thammathirat,” (Khon Kaen Agriculture Journal 45 (SUPPL. 1 2017) :1562-1564.
Office of Agricultural Economics. (2021). Agricultural product production information (rice details). Retrieved from https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/Second%20rice%2065%20province.pdf. Retrieved 11 November 2022.
Panutat Lohsithong, and Kanlaya Chernkwan. (2023). Knowledge in organic rice production of farmers under the project Promote organic rice production in Khon Kaen Province. Journal Journal of Community Development and Quality of Life Year 11, Issue 11, January - April 2023, Department of Agricultural Promotion and Development. Faculty of Agriculture Khon Kaen University, pages 46-55.
Piyada Wachirawongsakorn, and Thongsai Chamnongkarn.(2022). Knowledge, attitude, and factors affecting decision making in Organic rice production by farmers in Phitsanulok Province. Chiang Mai Rajabhat Journal, Year 23, Issue 2 May - August 2022, Faculty of Science and Technology Pibulsongkram Rajabhat University, Pages 195-207.
Rungrat Maprasit, Sineenuch Krutmuang Saenserm and Phonchuley Nilwiset. (2017). Using organic fertilizers to reduce production costs in rice fields of farmers in Phichit Province. (article). University Sukhothai Thammathirat Open University, 568-576.
Sudjai Tuibungchim. (2018). Guidelines for sustainable use of organic fertilizer in rice farming by farmers. Khon Kaen Province. (Thesis, Doctor of Philosophy degree Regional Development Strategy Branch) Rajabhat University Maha Sarakham, pages 119-163.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร