การส่งเสริมการผลิตกาแฟตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ขวัญธิดา ใจจา วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร
  • สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การผลิตกาแฟ, มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตกาแฟของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตกาแฟตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (4) แนวทางการส่งเสริมการผลิตกาแฟตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร

ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในอำเภอแม่ระมาด จำนวนทั้งสิ้น 112 ราย ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ

ผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 90.2 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.23 ปี มีประสบการณ์ทำสวนกาแฟเฉลี่ย 4.47 ปี พื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ย 2.61 ไร่ จำนวนแรงงานในการผลิตกาแฟเฉลี่ย 2.48 คน ต้นทุนในการผลิตกาแฟเฉลี่ย 1,006.25 บาท/รอบการผลิต มีรายได้จากการขายผลผลิตกาแฟเฉลี่ย 3,463.39 บาท/รอบการผลิต (2) ใช้น้ำฝนในการผลิตกาแฟ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการใส่ปุ๋ยและไม่มีการใช้สารกำจัดโรค/ แมลง จำหน่ายผลผลิตในรูปผลสดโดยมีพ่อค้ามารับซื้อที่แปลงผลิต (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตกาแฟตามมาตรฐาน GAP อยู่ในระดับมากที่สุด (4) เกษตรกรมีความต้องการวิธีการส่งเสริมในระดับมากจากสื่อบุคคล คือ เพื่อนเกษตรกร

References

Department of Agricultural Extension. (2014). The eff iciency increment of coffee production. Printing House of the agricultural Co-operative Federation of Thailand., LTD. 143 pages.

Department of Agriculture. (2019). Handbook for managing Arabica coffee production. (2nd ed.). Nonthaburi : GUARANTEE.

Ekarach Boonlomrug. (2014). Factors Affecting Practices on Good Agricultural Practices of Coffee Growers in Pa Pae Sub-district, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. (Master’s thesis of Science) Chiang Mai University. (in Thai)

Jularat Khampao. (2018). Factors Affecting Coffee Production in Mae Hong Son Province. (Master’s thesis of Economics) Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Khanitta Booncomma. (2021). Extension Guidelines for Coffee Production by the Farmers in Thongphaphum District, Kanchanaburi Province. (Master’s thesis of Agriculture) Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Off ice of Agricultural Economics. (2022). Situation of important agricultural products and trends in 2023. Retrieved December 10, 2022, from https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/baerdata/files/situationof important agricultural products and trends in %20 2566-Final.pdf

Royal Project Foundation. (2022). Research and development project on coffee growing and production under the natural resource conservation framework for sustainable development. Retrieved January 13, 2024, from https://www.facebook.com/royalproject.pr/posts/1070153260306592/?locale=ms_MY

Sopan Borvonsin. (2017). Investment Analysis of Arabica Coffee Farming with Chemical and Organic Production Systems under Risk of Cost and Retern of Farmer in Wawee Sub-district, Mae Suai District, Chiang Rai Province. (Master’s thesis of Agriculture) Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Suruya Srisaeng. (2013). Indigenous Wisdom of Arabica Coffee Growers in Mae Hong Son Province. (Master’s thesis of Agriculture) Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Thitikan Sornthanarat. (2007). Cost and Return of Arabica Coffee Farming in Amphoe Doi Saket Changwat Chiang Mai. (Master’s thesis of Science) Kasetsart University. (in Thai)

Trade Policy and Strategy Office. (2022). Analyze the Thai economic and trade situation by region 2022. Retrieved December 10, 2022, from http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/wiekhraaahsthaankaarnesrsthkicchphuumiphaakh_eduuenk.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-17