การเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างครอบครัว

ผู้แต่ง

  • อันติกา ทุ่งอ่วน -
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล
  • ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์

คำสำคัญ:

การปรึกษาครอบครัว, การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ทฤษฎีโครงสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างเพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบวัดการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจำนวน 35 ข้อ ค่าคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.95 และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างเพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ McMaster Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามชัยเขตจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสมาชิกผู้ดูแลหลัก 1 คน จำนวน 16 ครอบครัว

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสมาชิกผู้ดูแลหลักที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสมาชิกผู้ดูแลหลักที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Bureau of Non-Communicable Diseases, Bureau of Risk Communication and Health Behavior Development, Department of Disease Control. (2022). The Department of Disease Control launched a campaign for World Stroke Day 2022, emphasizing raising public awareness about the warning signs of stroke. Retrieved from https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/180623/. (in Thai)

Jitpugdee, W., Suntibenchakul S., & Piravej K. (2017). Prevalence of Anxiety and Depressive Symptomsin Home-Care Stroke Patients Effected on Motor Recovery and Functional Ability. Chula Med J, 61(2), 233-247. Retrieved from https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss2/8/. (in Thai)

Koatmaha, J., Phanjansri, J., Promraksa, T., & Prommanee, A. (2021). The Study of Family Relationships and Stress Among Caregiver of Stroke Patients.in Udonthani. Nursing, Health, and Education Journal, 4(2). 26-34. Retrieved from https://he02.tcithaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/252524/172160. (in Thai)

Koolnaphadol, P. (2016). Family Counseling. Chonburi: Natikul Press. (in Thai)

Manacharoen, W. (2016). A Study and Development of Family Resilience of Patients with Cerebrovascular Disease Through Assimilative Integrate Family Counseling. (Doctor of Philosophy). Counseling Psychology, Faculty of Education, Burapha University.Retrieved from https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php. (in Thai)

Nantajeewarawat, P. (2011). A Study and Development of Successful Family Functioning Through School - Based Family Counseling. (Doctor of Education). Counseling Psychology, Srinakharinwirot University. Retrieved from http://thesis.swu.ac.th/swudis/Coun_Psy/Pakamas_N.pdf. (in Thai)

Suaysod, N., Nanthamongkolchai, S., Munsawaengsub, C., & Pitikultang, S. (2021). Family Functioning and Strength of Family with Elderly in Phrae Province. Thai Journal of Health Education, 44(1), 129-139. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/240521/168950. (in Thai)

Suppasri, J., Nukaew, O., & Suttharangsee, W. (2017). The Effect of a Family Psychoeducation Program for Children with Autism on the Burden of Caregivers: A Preliminary Study.The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(Special edition), 196-213. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/84871/68617. (in Thai)

Tassanatanachai, A., Chaimongkol, N., & Theinpichet, S. (2009). Relationship Between Family Functioning and Quality of Life of Disabilities. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 17(2), 21-31. Retrieved from https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/1097. (in Thai)

Toyai, N., Yu-iam, S., & Koolnaphadol, P. (2019). The Effects of the Structural Family Therapy on Breast Cancer Patients’ Family Strength. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(4), 25-39. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/204142/153135. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-17