การพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ : กรณี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบาย กระบวนทัศน์ รูปแบบ และกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ (The Development of Paradigms, Models and Mechanisms for Teacher Development based on Area Networks : A Case Study’s Faculty of Education Silpakorn University and Proposed Policies for Teacher Development Paradigms, Models and Mechanisms based on Area Networks)

ผู้แต่ง

  • มาเรียม นิลพันธุ์ (Maream Nillapun)
  • ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย (Siriwan Vanichwatanavorachai)
  • วรรณภา แสงวัฒนะกุล (Wannapa Sangwattanakul)

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, เครือข่ายเชิงพื้นที่, รูปแบบและกลไกการพัฒนาครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกรณีศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครู 2) พัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครู และ3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อาจารย์ ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รวม 10 คน ของสถานศึกษา รวม 280 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครู มุมมองจากสถาบันผลิตครูพบว่า ด้านกระบวนทัศน์ และด้านรูปแบบการพัฒนาครูมีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ด้านกลไกการพัฒนาครูอยู่ในระดับปานกลาง สภาพพึงประสงค์ พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน และมุมมองจากสถานศึกษาพบว่า ด้านกระบวนทัศน์มีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบและกลไกการพัฒนาครู มีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพพึงประสงค์อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ผลการพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครู พบว่า สถาบันผลิตครูมีความต้องการจำเป็นในด้านกลไกการพัฒนาครูมากที่สุด สถานศึกษามีความต้องการจำเป็นในระดับมากเท่ากันทุกด้าน และข้อเสนอเชิงนโยบาย ควรปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาครูให้สอดคล้องกับความต้องการของครูที่มีความแตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับเครือข่ายในพื้นที่ และสนับสนุนการใช้กลไกเครือข่ายสถานศึกษาในลักษณะเบญจภาคีร่วมกับการติดตามผลการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่แล้ว

2020-10-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย