การศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน (The Study of 10th Grade Students’ Mathematical Reasoning Ability and Mathematics Achievement in a Mathematics Problem-based Learning (PBL) Classroom)
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การเรียนรู้ ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (จำนวน 1 ห้องเรียน) จำนวน 39 คน โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน เรื่อง หลักการนับเบื้องต้นและความน่าจะเป็น จำนวน 10 แผน 2) แบบประเมินความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ 3) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผล ทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยจากการใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีระดับความสามารถในการ ให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวิเคราะห์ 2) ด้านการสร้างข้อความคาดการณ์และสรุปเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป 3) ด้านการยืนยันคำตอบอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ในส่วนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มากกว่า 75% มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ของโรงเรียนร้อยละ 60
References
Bragg, L. A., & Herbert, S. (2018). “What Can Be Learned from Teachers Assessing
Mathematical Reasoning: A Case Study”. Mathematics Education Research Group of Australasia: 178-185.
Cahyono, A. E. Y. (2019). “Improving Achievement and Attitudes Towards Mathematics Using Problem-Based Learning Setting Team Accelerated Instruction”. Journal of Mathematics Education 4(2): 52-59.
Fong, W. L., & Leng, L. O. W. (2020). “Strategies to Foster Mathematical Reasoning and Communication”. Mathematics Teaching In Singapore-Volume 1: Theory-informed Practices: 107-108.
Kalaivani, K., & Tarmizi, R. A. (2014). “Assessing thinking skills: a case of problem-based learning in learning of algebra among Malaysian form four students”. Journal of International Academic Research for Multidisciplinary 2(3): 166-173.
Kusumawardani, D. R., Isnarto, I., & Junaedi, I. (2018). “Mathematical Reasoning Based on Belief in PBL with Dyadic Interaction Approach”. Unnes Journal of Mathematics Education Research 7(1): 48-53.
Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum (A.D.2008). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Printing. (in Thai)
Napitupulu, E. E., Suryadi, D., & Kusumah, Y. S. (2016). “Cultivating Upper Secondary Students' Mathematical Reasoning-Ability and Attitude towards Mathematics through Problem-Based Learning”. Journal on Mathematics Education 7(2): 117-128.
National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2018). The Result of the Ordinary National Educational Testing (O-Net) of academic year 2018. [Online]. Retrieved August 21, 2019, from http://www.niets.or.th/ (in Thai)
Othman, H., Salleh, B. M., & Sulaiman, A. (2013). “5 ladders of Active Learning: An
Innovative Learning Steps in PBL Process”. The 4th International Research Symposium on Problem Based Learning (IRSPBL), Malaysia: 245-253.
Putra, P., & Ikhsan, M. (2019). “Mathematical Reasoning Ability and Learning Independence of High School Students through Problem Based Learning Model”. International Journal for Educational and Vocational Studies 1(3): 217-223.
Rohana, R. (2015). “Peningkatan Kemampuan Penalaran Matematis Mahasiswa Calon Guru melalui Pembelajaran Reflektif”. Infinity Journal 4(1): 105-119.
Srisaard, B. (2013). Introduction of Research (9th ed). Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai)